ผลกระทบของความรุนแรงของโรคในเด็กที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรค ASD: บทบาทระหว่างกลางของคุณลักษณะการมองโลกในแง่ดี
มานิกา วิเศษสาธร, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์*, Edwin B Fisher
Department of Health Education and Behavioral Sciences, Faculty of Public Health, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand; Phone: 0-2354-8548; E-mail: phctn@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาผลกระทบจากความรุนแรงของโรคและการมองโลกในแง่ดีที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น ASD นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงบทบาทระหว่างกลางของตัวแปรการมองโลกในแง่ดีที่มีอิทธิพลระหว่างความรุนแรงของโรคในเด็ก และระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองด้วย
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น ASD จำนวน 303 ราย จากศูนย์ออทิสติกและโรงเรียนที่มีห้องเรียนเด็กพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เก็บข้อมูลผู้ปกครองด้วยชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม Childhood Autism Rating Scale (CARS) แบบทดสอบ Life Oriented Test-Revised (LOT-R) และแบบทดสอบ WHOQOL-BREF test
ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Pearson Correlation พบว่าความรุนแรงของโรค ASD ในเด็กมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับคุณภาพชีวิตของพ่อแม่ ในขณะที่ตัวแปรการมองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับคุณภาพชีวิต ส่วนผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ path analysis ยืนยันว่าความบกพร่องด้านภาษาและการแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ อย่างไม่มีความหมายของเด็กที่เป็น ASD มีผลต่อระดับการมองโลกในแง่ดีของพ่อแม่ และระดับการมองโลกในแง่ดีนี้เองที่มีผลต่อเนื่องไปสู่ระดับคุณภาพชีวิตของพ่อแม่ในทุกๆ ด้านต่อมา
สรุป: ผลจากการศึกษาครั้งนี้ยืนยันถึงบทบาทระหว่างกลางของการมองโลกในแง่ดี และจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการมองโลกในแง่ดีสำหรับพ่อแม่ที่มีบุตรเป็น ASD ต่อไป
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, October ปีที่: 10 ฉบับที่ 96 หน้า 1313-1318
คำสำคัญ
Autism spectrum disorder (ASD), Optimism, Quality-of-life, Mediating role