ผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมและดัชนีสุขภาพในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
อุระณี รัตนพิทักษ์, กีรดา ไกรนุวัตร*, อภิรดี ศรีวิจิตรกมล, จุฑาทิพย์ วิภาวัฒนะ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700, e-mail: kerada.kra@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองต่อระดับความรู้ พฤติกรรมและดัชนีสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีการดำเนินการวิจัย: ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 117 คน และได้รับการสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลอง 59 คนและกลุ่มควบคุม 58 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองภายใต้กรอบแนวคิด precede-proceed model และ self-efficacy ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามและจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง (t-test, chi-square, repeated-measures analysis of variance)
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีความรู้ พฤติกรรม น้ำตาลในเลือด น้ำตาลสะสมดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญโปรแกรมมีค่าขนาดอิทธิพลปานกลางถึงสูง ผู้เป็นเบาหวานในกลุ่มทดลองสามารถรักษาพฤติกรรมสุขภาพคงอยู่นาน 18 เดือน
สรุปและข้อเสนอแนะ: การให้ความรู้คู่กับการฝึกทักษะ การสนับสนุนของพยาบาลรวมถึงการเยี่ยมบ้านและการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนเป็นแกนสำคัญของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเอง โปรแกรมช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานควบคุมน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสมได้ดี ผลของโปรแกรมสามารถประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นที่คล้ายคลึงกันได้
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2556, January-March ปีที่: 1 ฉบับที่ 31 หน้า 7-18
คำสำคัญ
Type 2 diabetes, Knowledge, ความรู้, พฤติกรรม, behavior, ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2, Self-management Program, โปรแกรมการจัดการตนเอง, health index, ดัชนีสุขภาพ