เปรียบเทียบผลที่ได้รับทางคลินิกระหว่างเครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตดนมัติใช้ที่บ้านกับเครื่องแปลผลตรวจการนอนหลับแบบปรับความดันลมด้วยมือในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น
กรองทอง วงศ์ศรีตรัง*, สุเมธ เฟื่องกำลูนDepartment of Otolaryngology Head and Neck Surgery, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: 074-451-390, Fax: 074-429-620; E-mail: golf_psu@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลที่ได้รับทางคลินิกและหาความแตกต่างในความดันการรักษา ระหว่างกลุ่มใช้เครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติและปรับความดันด้วยมือ
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นจำนวน 50 ราย ระดับความรุนแรงปานกลางถึงมาก ได้รับการสุ่มเป็นสองกลุ่มตามวิธีปฏิบัติ ใช้ค่าความดันลม 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ จากเครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติและความดันที่เหมาะสมจากการปรับด้วยมือ ประเมินผลทางคลินิกก่อนและหลังรักษา 4 สัปดาห์
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความดันลม 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ มีค่า 11.7±0.3 เซนติเมตร น้ำและค่าลมรั่วเฉลี่ย 1.3 ลิตรต่อนาที ค่าเฉลี่ยความดันที่ได้จากการปรับด้วยมือมีค่า 8.2±0.3 เซนติเมตรน้ำ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพียร์สันแสดงความสัมพันธ์ทางบวกแบบเปราะบาง (r = 0.336, p = 0.017) สำหรับคะแนนการนอน Epworth ดัชนีคุณภาพการนอน Pittsburg และแบบสำรวจสุขภาพแบบสั้น 36 รายการ ผลที่ได้รับทางการแพทย์ของทั้งสองกลุ่มดีขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม
สรุป: การใช้เครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติและปรับความดันด้วยมือ ให้ผลที่ได้รับทางคลินิกดี แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, September
ปีที่: 96 ฉบับที่ 9 หน้า 1159-1163
คำสำคัญ
Obstructive sleep apnea, Manual titration, Autotitrating, Positive airway pressure