ผลของยาโปรไบโอติกส์ Saccharomyces boulardii ในการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กโรคท้องร่วงเฉียบพลัน
อัญมณี ศิลป์ประสิทธิ์
Department of Pediatrics, Songkhla Hospital
บทคัดย่อ
ผลของยาโปรไบโอติกส์ Saccharomyces boulardii ในการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กโรคท้องร่วงเฉียบพลัน
บทนำ: มีการใช้โปรไบโอติกส์หลายชนิดในการรักษาโรคท้องร่วง โดยมีหลายการศึกษาพบว่า ไปรไบโอติกส์ชนิด Saccharomyces boulardii ซึ่งเป็นยีสต์มีประสิทธิภาพได้ผลดีในการรักษาโรคท้องร่วงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ยา
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพของยาโปรไบโอติกส์ Saccharomyces boulardii ในผู้ป่วยโรคท้องร่วงที่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในด้านบทบาทที่เกี่ยวกับการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ clinical trial, randomized, prospective controlled study ผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 60 ราย ที่เข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยกุมาเวชกรรมด้วยโรคท้องร่วง อายุตั้งแต่ 3 เดือน -5 ปี ซึ่งได้รับเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าโครงการ และถูกสุ่มออกเป็นกลุ่ม A (ไม่ได้รับยา) จำนวน 31 ราย และกลุ่ม B (ได้รับยา S.boulardii) จำนวน 30 ราย เปรียบเทียบผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม เรื่องระยะเวลานอนในโรงพยาบาล ระยะเวลาที่อาการดีขึ้น (จำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระและอาเจียนลดลง ปริมาณอุจจาระหรืออาเจียนลดลง) ระยะเวลาที่หายเป็นปกติ
ผลการศึกษา: ระยะเวลาเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาล 2.97 +/-1.02 วัน และ 3 +/-1.20 วันในกลุ่ม A และ B ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยที่อาการเริ่มดีขึ้นอยู่ที่ 24.82 +/- 14.13 ชั่วโมงในกลุ่ม A และ 18.53 +/-1.29 ชั่วโมงในกลุ่ม B เวลาเฉลี่ยที่หายเป็นปกติ 66.97 +/-33.34 ชั่วโมง ในกลุ่ม A และ 57.6 +/- 29.12 ชั่วโมง ในกลุ่ม B ผลเปรียบเทียบระยะเวลาต่างๆ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม
สรุป: การใช้  S.boulardii probiotics ไม่ลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคท้องร่วงเฉียบพลัน
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2556, January-April ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 32-37
คำสำคัญ
Acute diarrhea, probiotics, saccharomyces bolardii, โปรไบโอติกส์, แซคคาโรไมซีส โบลาร์ดิไอ, ท้องร่วงเฉียบพลัน