ภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอด
กมล อุดล, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ*, อารดา หายักวงษ์Faculty of Medicine, Ramathibodi, Mahidol University; email: racsp@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอด 113 คน ที่มารับการรักษาในจังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พฤศจิกายน 2554- มกราคม 2555 เก็บข้อมูลด้านวัณโรคจากแบบบันทึกการรักษา ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตจากแบบคัดกรองของภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) และแบบประเมินคุณภาพชีวิตอย่างย่อ (WHOQOL-BREF) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา, วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนภาวะซึมเศร้ากับคะแนนคุณภาพชีวิตด้วย Spearman’s rank correlation และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ, รายได้, ภาวะซึมเศร้า, ระยะเวลาในการรักษากับคุณภาพชีวิตด้วย multiple linear regression
ผล: อัตราภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยวัณโรคปอดร้อยละ 20.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอด ได้แก่ อายุ, ระยะเวลาในการรักษา และภาวะซึมเศร้า โดยผู้ป่วยสูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตด้านร่างกายต่ำกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ผู้ป่วยที่อยู่ในการรักษาระยะเข้มข้นมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจต่ำกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามีคุณภาพชีวิตด้านร่างกายและจิตใจต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำถึงกลาง หลังควบคุมผลกระทบจากปัจจัยด้านอายุและรายได้แล้ว พบว่า ภาวะซึมเศร้าทำให้คุณภาพชีวิตด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยต่ำลง ทั้งในการรักษาระยะเข้มข้นและระยะต่อเนื่อง
สรุป: ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยวัณโรค และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตต่ำลงในทุกช่วงเวลาของการรักษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคจำเป็นต้องมีการคัดกรองและดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าควบคู่ไปกับการรักษาวัณโรค
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2556, May
ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 110-120
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, ภาวะซึมเศร้า, วัณโรค, คุณภาพชี่วิต, network development services, psychiatric patients