เปรียบเทียบผลของ dexmedetomidine และ propofol เพื่อการตรวจวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจ
นฤมล ประจันพาณิชย์, วรพจน์ อภิญญาชน, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล*, อรวรรณ มูลตรีภักดี, อัมพร จิตอารี
Department of Anesthesiology, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand; Phone: 0-2201-1513, Fax: 0-2201-1569; E-mail: ittichaikul@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: Dexmedetomidine เป็นยาคลายกังวลที่สามารถใช้คลายกังวลได้หลายระดับ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด และระบบกายหายใจ นอกจากนี้ dexmedetomidine ยังใช้ในการคลายกังวลสำหรับการทำหัตถการทางการแพทย์ที่มีความปวดระดับน้อยถึงปานกลาง การทำหัตถการตรวจวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจจำเป็นต้องใช้ยาคลายกังวลและลดปวด เนื่องจากเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดความปวดระดับน้อย การศึกษานี้จึงมีสมมุติฐานว่า dexmedetomidine มีผลกระทบต่อระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบหายใจ น้อยกว่า propofol ที่ระดับการคลายกังวลที่เท่ากัน ในผู้ป่วยที่มารับการตรวจวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจ
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วย 34 ราย ที่มารับการตรวจวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจแบบสุ่ม ด้วยการให้ยา dexmedetomidine หรือ propofol ผู้ป่วยในกลุ่ม dexmedetomidine จะได้รับยา 0.5 มคก./กก. ในเวลา 10 นาที จากนั้นหยดเข้าหลอดเลือดดำ 0.4 มคก./กก./ชม. ส่วนผู้ป่วยกลุ่ม propofol จะได้รับยา 1 มก./กก. และหยดเข้าหลอดเลือดดำ 3 มก./กก./ชม. ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับ pethidine ขนาด 0.5 มก./กก. ก่อนเริ่มทำหัตถการ ระหว่างการทำหัตถการ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินระดับความรู้สึกด้วย The Modified Observer’s Assessment of Alertness/Sedation และประเมินการทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือดและอัตราการหายใจ
ผลการศึกษา: The Modified Observer’s Assessment of Alertness/Sedation ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่ต่างกัน อัตราการหายใจ และความดันเลือดใน 5-15 นาทีแรก ของผู้ป่วยกลุ่ม dexedetomidine มีค่าสูงกว่ากลุ่ม propofol อย่างมีนัยสำคัญ การให้ออกซิเจนในกลุ่ม propofol มีค่าสูงกว่ากลุ่ม dexmedetomidine อย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน ไม่พบอัตราการเต้นของหัวใจช้า และความดันเลือดต่ำมากในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: ผู้ป่วยที่มารับการตรวจวิเคราะห์ไฟฟ้าหัวใจสามารถให้ dexmedetomidine หรือ propofol ร่วมกับ pethidine เพื่อทำหัตถการได้ไม่ต่างกัน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, March ปีที่: 96 ฉบับที่ 3 หน้า 307-311
คำสำคัญ
Propofol, Dexmedetomidine, Electrophysiology study