การศึกษานำร่องเพื่อเปรียบเทียบการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ระหว่างการใช้ยา ampicilin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำกับการรับประทานยา ciprofloxacin
บัวกาญจน์ กายาผาด, พัทธ์ปิยา สีระสาพร*, ภัทรา วัฒนพันธุ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ ระหว่างการให้ยา ampicilin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำ กับการรับประทานยา ciprofloxacin
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (randomized controlled study)
สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลังที่มารับการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ณ หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 60 คน
วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คนซึ่งแต่ละกลุ่ม ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับยา ampicilin 1 กรัม ร่วมกับ gentamicin 80 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ได้รับยา ciprofloxacin 500 มิลลิกรัม หลังตรวจยูโรพลศาสตร์ 24 ชั่วโมง เก็บตัวอย่างปัสสาวะจากผู้ป่วยโดยการสวนปัสสาวะแบบปลอดเชื้อ และนำปัสสาวะส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะและเพราะเชื้อแบคทีเรีย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยใช้ผลตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาว ≥ 10 cells/HPF ร่วมกับผลการเพาะเชื้อพบแบคทีเรีย 1 หรือ 2 ชนิด ≥ 105 cfu/ml เป็นการวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ผลการศึกษา: หลังตรวจยูโรพลศาสตร์พบการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในกลุ่มที่ได้รับยา ampicilin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำ ร้อยละ6.7 และในกลุ่มที่ได้รับยารับประทาน ciprofloxacin ร้อยละ 10 ทั้งนี้อัตราการติดเชื้อของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) โดยร้อยละ 100 ของเชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียชนิดกรัมลบ และที่พบมากที่สุดคือ E.Coli (ESBL)
สรุป: การให้ยา ampicilin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำกับการรับประทานยา ciprofloxacin มีอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ไม่แตกต่างกัน
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2555, September ปีที่: 22 ฉบับที่ 3 หน้า 102-108
คำสำคัญ
urinary tract infection, บาดเจ็บไขสันหลัง, Antibiotic prophylaxis, Spinal cord injury, neurogenic bladder, ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะพิการ, การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ