การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าแบบติดในถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ
วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, สุวิชา เตชะภูวภัทร, พรรณราย ช่วยพัฒน์*
งานเวชศาสตร์ฟืั้นฟู ภาควิชาศัลยแพทยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และภายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการลดความปวดเท้าโดยใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าแบบติดในถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองและเปรียบเทียบ
สถานที่ทำการวิจัย: คลินิกกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยนอกอายุ 20-60 ปี ที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ 38 คน
วิธีการศึกษา: สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าโดยเย็บติดในถุงเท้าบาง กลุ่มที่ 2 ใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าแบบติดในรองเท้าทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับยาและคำแนะนำการยืดกล้ามเนื้อเหมือนกัน โดยประเมินคะแนนความปวด คะแนนแบบสอบถามสุขภาพเท้า ระดับความพึงพอใจในการรักษา ก่อนและหลังใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย two sample t-test และ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: มีผู้ร่วมวิจัย 38 คน กลุ่มละ 19 คน พบว่าภายหลังใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้า คะแนนความปวดเฉลี่ยลดลงทั้งกลุ่มที่เย็บแผ่นกระจายน้ำหนักติดกับถุงเท้าบางและกลุ่มที่ติดในรองเท้าจาก 4.7 เป็น 1.2 ในกลุ่มที่ 1 และจาก 4.6 เป็น 1.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความปวดก่อนและหลังใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้า คะแนนแบบสอบถามสุขภาพเท้า และระดับความพึงพอใจ ระหว่างกลุ่มที่ติดในถุงเท้าบางและรองเท้าไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าช่วยลดความปวดเท้าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดได้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิได้แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการติดในถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้า
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2555, September ปีที่: 22 ฉบับที่ 3 หน้า 73-79
คำสำคัญ
Metatarsalgia, foot pain, metatarsal pad, ความปวดเท้า, อาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้า, แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท่าสวนหน้า