การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาจุดกดเจ็บในผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อบ่าโดยใช้เทคนิค Deep Friction Massage และ Self-Stretching
พัชรินทร์ ธรรมากูล*, ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล
กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพระนครศรีอยุทธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
                การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบผลการรักษาจุดกดเจ็บในผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อบ่าโดยใช้เทคนิค Deep Friction Massage และ Self-Stretching ต่อค่าคะแนนความเจ็บปวด ในอาสาสมัครที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณบ่า จำนวน 90 คน อายุระหว่าง 20-58 ปี ทั้งหมดได้รับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาด้วยเทคนิค Deep Friction Massage กลุ่มที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยเทคนิค Self-Stretching และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับ Ultrasound แบบหลอก โดยใช้คะแนนความเจ็บปวดเป็นเครื่องมือวัดความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาทันที สถิติ Jonckheere-Terpstra test แสดงข้อมูลพื้นฐานก่อนและทดลองไม่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม สถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test แสดงข้อมูลเปรียบเทียบค่า Pain Score ก่อน-หลัง ในกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถิติ Kruskal-Wallis Test แสดงข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษาแสดงถึงประสิทธิภาพการรักษาด้วยวิธี Deep Friction Massage ดีกว่า การรักษาด้วย Self-Stretching จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณบ่า
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2555, May-August ปีที่: 2 ฉบับที่ 2 หน้า 158-165