ประสิทธิภาพของ 10% Lidocaine Spray ขณะใส่ท่อช่วยหายใจต่อการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต อาการไอและอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด
พิสมัย สาระเสน*, อมรา ลีแสน
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข แต่ละปี
มีผู้มารับบริการผ่าตัดเป็นจำนวนมาก ในปีงบประมาณ 2552 และในช่วงเดือนตุลาคม 2552-เมษายน 2553
ที่ผ่านมาอาการเจ็บคอหลังผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เป็นอันดับต้นๆ ของการให้ยาระงับความรู้สึก
อาการไอและการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต (Hemodynamic response) เป็นสิ่งที่พบ
ได้บ่อยในการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป 1,2  อาการไอทำให้ผู้ป่วยขยับอย่างทันที่ทันใด , ปวดแผล, แผลแยก, IV หลุด, เกิดเลือดออกบริเวณแผลผ่าตด หลอดลมหดเกร็ง ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว
 จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันผู้ป่วยจากสภาวะการณ์เหล่านี้ มีหลากหลายยาและวิธีในการที่คาดหวังว่าจะช่วยลดการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตและอาการไอจากการใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ยังไม่วิธีไหนที่พิสูจน์ว่าประสบผลสำเร็จ
อาการไอและการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตเป็นผลมาจากการที่เยื่อบุของหลอดลมถูกกระตุ้นโดยท่อช่วยหายใจ มีทฤษฏียืนยันว่าการให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณ laryngotracheal mucosaที่สัมผัสกับท่อช่วยหายใจเหมาะสมในการลดอาการไอและการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตขณะตื่นจากการให้ยาระงับความรู้สึก
มีหลากหลายเทคนิคในการทดลองให้ lidocaine เพื่อป้องกันผู้ป่วยจากอาการไอและการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต แต่ก็ยังไม่ได้ผลสรุปที่แน่นอน การพ่น lidocaine ในบริเวณหลอดลม(Endotracheal   spraying) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการลดการตอบสนองต่อการใส่ท่อช่วยหายใจ
การศึกษาก่อนหน้านี้ของ Minogue และคณะ ถึงผลของการพ่น lidocaine บริเวณ laryngotrachealก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ ช่วยลดอุบัติการณ์ของอาการไอในขณะตื่นได้ You Mi Ki และคณะพบว่าการให้ lidocaine spray ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ ด้วยความเข้มข้นต่างๆ กันในขนาด 2มก./กก. ไม่ช่วยลดอาการไอและHemodynamic reaction ขณะตื่นจากการให้ยาระงับความรู้สึกในเด็กได้
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการให้ lidocaine spray มีประสทธิภาพและการทำงานอย่างไรเมื่อให้ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ การให้ Xylocaine 10%Pump  Spray ขึ้นกับพื้นที่และหัตถการที่จะทำ1 spray จะให้ยาออกมา10 มิลลิกรัม ปริมาณยาที่ใช้ได้มากที่สุดคือ 20 spray สำหรับหัตถการของทันตแพทย์จะใช้ประมาณ1-5 spray ในการศึกษานี้ต้องการศึกษาถึงผลของการให้ 10% lidocaine (Astra Zeneca, Sweden) spray เฉพาะบริเวณ pharyngolaryngeal ในขนาด 2 spray (2 puff) ขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตอาการไอและอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด
 
ที่มา
ยโสธรเวชสาร ปี 2553, May-August ปีที่: 12 ฉบับที่ 2 หน้า 83-91
คำสำคัญ
Intubation, Emergence, anesthetics, Cough, Local : lidocaine