ปริมาณยา propofol และระยะเวลาฟื้นตัวจากยาสลบในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ โดยใช้ค่า Bispectral index เปรียบเทียบกับอาการทางคลินิก
พิมพา บาลมงคล*, นภัสวัต ปวโรภาส, วิกานดา ธรรมเขต, จุไรรัตน์ นันทเสนา, นภสร จั่นเพชร
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
บทคัดย่อ
                การศึกษาแบบ randomized controlled นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การใช้ค่า bispectral index (BIS) ร่วมกับการระงับความรู้สึกแบบ total intravenous anesthesia (TIVA) ช่วยหายใจผ่าน laryngenal mask airway (LMA) และไม่ใช้ muscle relaxant ว่าจะช่วยลดปริมาณยาสลบ และช่วยให้ฟื้นได้เร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะมาก่อน ศึกษาในผู้ป่วย 102 คน ASA I-II อายุ 18-65 ปี แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ในกลุ่มควบคุมจะปรับขนาดยา propofol ตามอาการทางคลินิก ส่วนใหญ่กลุ่ม BIS จะใช้ค่า BIS ช่วยในการปรับยา พบว่ากลุ่มควบคุมมีปริมาณการใช้ยา propofol มากกว่า กลุ่ม BIS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.88, 2.08 มก./กก./ชม. เทียบกับ 7.35, 1.56 มก./กก./ชม) ระยะเวลาฟื้นตัวและถอด LMA ในกลุ่ม BIS เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.58, 2.81 นาที และ 4.48, 3.06 นาที เทียบกับ 5.18, 3.55 นาที และ 6.35, 3.79 นาที) ( p 0.02, 0.01 ตามลำดับ) โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างจำนวนผู้ป่วยที่มีการขยับตัวในระหว่างผ่าตัดในทั้งสองกลุ่ม
                สรุป การศึกษานี้พบว่าการใช้ BIS monitor สามารถลดปริมาณการใช้ยา propofol และลดระยะเวลาฟื้นตัว ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบ TIVA โดยไม่ใช้ muscle relaxant ได้ แต่ BIS ไม่สามารถทำนาย หรือป้องกันการขยับตัวของผู้ป่วยได้ จึงอาจไม่สามารถช่วยให้การผ่าตัดมีความราบรื่นขึ้นมากนัก
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2555, November-December ปีที่: 21 ฉบับที่ 6 หน้า 1085-1092
คำสำคัญ
Propofol, Bispectral index, Total intravenous anesthesia