เปรียบเทียบผลของการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์กับการนวดแบบสวีดิชในผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อ Trapezius (Trapezius myofascial pain)
จุไร รัฐวงษา*, ชื่นฤทัย ยี่เขียน, พงษ์ศักดิ์ ชุนพงษ์ทอง, คมวุฒิ คนฉลาดPhysical Therapy Unit, Department of Rehabilitation Medicine, Queen Savang Vadhana Memorial Hospital, Thai Red Cross Society, Sriracha, Chonburi 20110, E-mail: ratvongsa@yahoo.com
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาด้วยอัลตราซาวด์กับการนวดสวีดิชในการรักษาผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อ Trapezius โดยใช้แบบประเมินคะแนนความปวด
(Visual analog scale) และพิสัยการเอียงคอไปทางด้านข้าง (range of motion of cervical lateral flexion) ผู้ เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อ Trapezius จำนวน 38 ราย สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยอัลตราซาวด์ร่วมกับการวางผ้าร้อน และกลุ่มทั้งได้รับการนวด
แบบสวีดิชร่วมกับการวางผ้าร้อนต่อเนื่องกันทั้งหมด 9 ครั้ง โดยทั้ง 2 กลุ่มได้รับการวัดคะแนนความปวดก่อนและหลังการรักษาทุกครั้งที่มาทำการรักษา และวัดพิสัยการเอียงคอทั้งข้างขวาและข้างซ้าย ก่อนและหลังการรักษาเฉพาะครั้งแรกและครั้งสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความปวดและพิสัยการเอียงคอ ก่อนและหลังการรักษาภายในกลุ่ม ใช้สถิติ Non-paired t-test เปรียบเทียบคะแนนความปวดและพิสัยการเอียงคอ ระหว่า งกลุ่มการรักษาทั้ง 2 กลุ่ม และใช้สถิติ Repeated ANOVA เปรียบเทียบคะแนนความปวดหลังการรักษาทั้ง 9 ครั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มการรักษาทั้ง 2 กลม ผลการศึกษาพบว่า ทั้งการรักษาด้วยอัลตราซาวด์และการนวดสวีดิชมีคะแนนความปวดเฉลี่ยหลังการรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และพบว่าทั้งการรักษาด้วยอัลตราซาวด์และการนวดสวีดิชมคะแนนความปวดเฉลี่ยหลังการรักษาแต่ละครั้งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ยกเว้นการรักษาด้วยอัลตราซาวด์การรักษาครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 9 ที่มีคะแนนความปวดเฉลี่ยก่อนและหลังการรักษาไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนความปวดเฉลี่ยระหว่างกลุ่มอัลตราซาวด์และการนวดสวีดิช พบว่า การนวดสวีดิชมีผลต่างคะแนนความปวดเฉลี่ยมากกว่าการรักษด้วยอัลตราซาวด์ในการรักษาครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ ยังพบว่าผลต่างคะแนนความปวดภายในกลุ่มของการรักษาด้วย ultrasound และการนวดแบบสวีดิชมีการลดลงไม่แตกต่างกัน (F = 0.20, Sig. = 0.828) และการเปรียบเทียบผลต่างคะแนนความปวดเฉลี่ยทั้ง 9 ครั้งระหว่างกลุ่มที่รับการรักษาด้วย ultrasound กับการนวดแบบสวีดิช พบว่าทั้งสองกลุ่มมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนความปวดไม่แตกต่างกัน (F = 0.20, Sig. = 0.828, and F = 0.59, Sig. = 0.565, ตามลำดับ) สำหรับการวัดพิสัยการเอียงคอ พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีพิสัยการเอียงคอก่อนและหลังการรักษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าพิสัยการเอียงคอของการรักษาทั้งอัลตราซาวด์และการนวดสวีดิช พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การรักษาด้วยอัลตราซาวด์และการนวดแบบสวีดิชที่ทำการรักษาร่วมกับการวางผ้าร้อน ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มพิสัยการเอียงคอในการรักษาผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อ Trapezius การนวดแบบสวีดิชช่วยลดอาการปวดทางคลินิกได้ดี และสามารถเป็นทางเลือกการรักษาวิธีใหม่ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มนี้
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2555, May-August
ปีที่: 34 ฉบับที่ 2 หน้า 112-123
คำสำคัญ
Visual analog scale, trapezius myofascial pain, ultrasound treatment, Swedish massage, range of motion of cervical lateral flexion