คุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พรนภา เจริญสันต์*, ขวัญเรือน ด่วนดี, รังสินี พูลเพิ่ม
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก; E-mail: pin_na_pa@hotmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Descriptive Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ศึกษาอิทธิพลทำนายร่วมของสัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิต และศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกับหญิงตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 164 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 91.28 มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการสนับสนุนทางสังคมและสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ในระดับปานกลาง (r = .600, p < .01 และ r = .516, p < .01 ตามลำดับ) สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 37.0 (R2 = .370) และค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของหญิง ตั้งครรภ์วัยรุ่นกับหญิงตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ไมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -.012, p = .080)  ขอเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
 
ที่มา
วารสารพยาบาลทหารบก ปี 2555, September-December ปีที่: 13 ฉบับที่ 3 หน้า 47-59
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, Social support, การสนับสนุนทางสังคม, Pregnant women, หญิงตั้งครรภ์, คุณภาพชี่วิต, the quality of life in pregnant women, family relationships, สัมพันธภาพในครอบครัว