ผลการนวดขาต่อความปวดขณะฉีดวิตามินเคที่กล้ามเนื้อหน้าขา ในทารกแรกเกิด
อัจฉรา ชินวร*, คนึงนิตย์ วงศ์พจน์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดขณะฉีดวิตามินเค ของทารกแรกเกิดครบกำหนดที่ได้รับการนวดขา และไม่ได้รับการนวดขาที่มีน้ำหนักแรกเกิด 2,500 - 4,000 กรัม Apgar score นาทีที่ 1 และ 5 มากกว่าหรือเท่ากับ 8 ที่รับไว้ในห้องเด็กอ่อน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มละ 25 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ คู่มือวิธีการนวดขา และแบบประเมินความปวดในทารกแรกเกิด (Neonatal Infant Pain Scale, NIPS) ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้อง (CVI) เท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่อิสระ
               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความปวดเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (X = 5.84, S.D. = 1.28 และ X = 6.64, S.D. = 1.11 ตามลาดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.357, p < 0.05)  ดังนั้น การนวดขาจึงช่วยลดความปวดในทารกแรกเกิดที่ฉีดวิตามินเคได้
 
ที่มา
วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปี 2555, August-December ปีที่: 32 ฉบับที่ 3 หน้า 27-36
คำสำคัญ
pain, ความปวด, massage, intramuscular injection, neonates, การนวด, การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ, ทารกแรกเกิด