การฉีดบิวพิวาเคน 0.25% ในบริเวณ periarticular สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาขัดขวางการทำงานของเส้นประสาทฟีเมอรัลและการฉีดมอร์ฟีนเข้าในช่องไขสันหลัง
ฐิติมา ชินะโชติ*, อังคณา เหลืองนทีเทพ, มานี รักษาเกียรติศักดิ์Department of Anesthesiology, Faculti of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; Phone: 081-3082438; E-mail: thitima.chn@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เพื่อแสดงว่าผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าช่องไขสันหลังพร้อมกับมอร์ฟีนร่วมกับการฉีดยาขัดขวางการทำงานของเส้นประสาทฟีเมอรัลสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า การฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณ periartcular ก่อนเย็บปิดแผลจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดได้มากหรือน้อยเพียงใด
วัสดุและวิธีการ: ดำเนินการศึกษาในผู้ป่วย 99 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าภายใต้การระงับความรู้สึกโดยวิธีดังกล่าวภายใต้กระบวนการศึกษาแบบ randomized double-blind placebo controlled clinical trial โดยผู้ป่วย 50 ราย จะได้รับการฉีดบิวพิวาเคน 0.25% 20 มล. และผู้ป่วย 49 ราย ได้รับการฉีดน้ำเกลือ 0.9% ปริมาณ 20 มล. บริเวณ periarticular หลังการผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการระงับปวดโดยintravenous patient controlled analgesia ด้วยมอร์ฟีน ทำการตรวจประเมินระดับความปวดหลังการผ่าตัดความต้องการมอร์ฟีน ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: พบว่าวิธีการสุ่มสามารถเลือกผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน และการฉีดยาชาบริเวณperiarticular เพิ่มประสิทธิภาพของการระงับปวดชัดเจนในระยะหลังการผ่าตัด ประกอบด้วยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการมอร์ฟีนเพิ่มน้อยกว่า (26% เปรียบเทียบกับ 12.2%, p ≤ 0.01) ระยะเวลาที่ไม่ปวดหัลงการผ่าตัดนานกว่า (25 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับ 14.8 ชั่วโมง, p < 0.001) จำนวนมอร์ฟีนที่ต้องการน้อยกว่า (5.16 มก. เปรียบเทียบกับ 8.67 มก., p = 0.005) และผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากกว่า โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม
สรุป: การฉีดยาชาบริเวณ periarticular ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า โดยต้องใช้วิธีการระงับปวดรวม 3 วิธี พร้อม ๆ กัน อาจเป็นการกระทำที่มากเกิน ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าสมควรดัดแปลงวิธีการฉีด periarticular อย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น เช่นการฉีดยาชาอย่างต่อเนื่องบริเวณรอบๆ ข้อเข่า
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, December
ปีที่: 95 ฉบับที่ 12 หน้า 1536-1542
คำสำคัญ
Pain control, Periarticular infiltration, Knee arthroplasty