การดึงสายสวนปัสสาวะหลังจากการตัดต่อมลูกหมากผ่านทางการส่องกล้องมีความจำเป็นหรือไม่
กีรติพล เวียงพล*, เจริญ ลีนานุพันธ์, วิสูตร คงเจริญสมบัติ, วิทย์ วิเศษสินธ์, สุพรรณี นิลล์กุลวัฒน์, กิตติณัฐ กิจวิกัย
หน่วยศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกระหว่างการดึงสายสวนปัสสาวะและไม่ดึงสายสวนปัสสาวะ หลังจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยวิธีการส่องกล้อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาสุ่มเปรียบเทียบในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ดึงสายสวนปัสสาวะและไม่ดึงสายสวนปัสสาวะ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2553 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ต้องดึงสายสวนปัสสาวะ 20 คน และกลุ่มที่ไม่ต้องดึงสายสวนปัสสาวะ 20 คน
ผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ระยะเวลาการผ่าตัด ขนาดต่อมลูกหมากที่ผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือด จำนวนเลือดที่ได้รับ การลดลงของความเข้มข้นเลือด อัตราการเกิดปัสสาวะไม่ออกจากการอุดตันของลิ่มเลือด และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยในกลุ่มที่ไม่ได้ดึงสายสวนปัสสาวะ มีคะแนนความเจ็บปวดน้อยกว่า (2.95±0.82 versus 4.95±1.3, P < 0.05) และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (49.5±8.8 versus 60.5±18 hours, P <0.05) น้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับการดึงสายสวนปัสสาวะ
สรุป: การไม่ดึงสายสวนปัสสาวะหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยวิธีการส่องกล้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัย และช่วยลดในเรื่องความปวดหลังการผ่าตัด และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลแ
 
 
ที่มา
วารสารยูโร ปี 2554, June ปีที่: 32 ฉบับที่ 1 หน้า 40-46
คำสำคัญ
bleeding, Transurethral resection of the prostate, Foley catheter traction