ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดผื่นแดงบริเวณฝีเย็บและก้นกบในผู้ป่วยระบบประสาทที่มีภาวะกลิ่นปัสสาวะ
อุษณีย์ แก้วเก็บ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์*, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร สุนัยดุษฎีกุลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700, e-mail: nswcr@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดผื่นแดงบริเวณฝีเย็บและก้นกบในผู้ป่วยระบบประสาทที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษาในผู้ป่วยระบบประสาทเพศหญิงที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้และเข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 64 ราย กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบบันทึกสภาพผิวหนังผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมิน Visual Grading Scale เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของผื่นแดง ระยะเวลาปลอดผื่นแดง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบสถิติที (t-test) และ binary univariate logistic regression
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดผื่นแดงและระดับความรุนแรงของผื่นแดงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และมีระยะเวลาปลอดผื่นแดงนานกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) กลุ่มทดลองมีโอกาสเกิดผื่นแดงเท่ากับ 0.05 เท่าของกลุ่มควบคุม (OR = 0.05, 95% CI = 0.01-0.18) โดยกลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดผื่นแดงร้อยละ 12.5 ระดับความรุนแรงของการเกิดผื่นแดงเฉลี่ย 0.31 (SD = .99) ระยะเวลาปลอดผื่นแดงเฉลี่ย 5.91 วัน (SD = .53) กลุ่มควบคุมมีอัตราการเกิดผื่นแดง ร้อยละ 75 ระดับความรุนแรงของการเกิดผื่นแดงเฉลี่ย 2.03 (SD = 1.42) และระยะเวลาปลอดผื่นแดงเฉลี่ย 4.41 วน (SD = 1.46)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวของสามารถนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ในหอผู้ป่วย เพื่อเพิ่มคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2554, October-December
ปีที่: 29 ฉบับที่ 4 หน้า 37-45
คำสำคัญ
Clinical nursing practice guideline, แนวปฏิบัติการพยาบาล, Urinary incontinence, Neurological patients, Perineal dermatitis, ผู้ป่วยระบบประสาท, การเกิดผื่นแดงบริเวณฝีเย็บและก้นกบ, ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้