ผลทันทีของการนวดไทยต่อการบรรเทาอาการปวดในการบำบัดกลุ่มอาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรังและไมเกรน
Suparat Sooktho, อุไรวรรณ ชัชวาล*, วิชัย อึงพินิจพงศ์, สมศักดิ์ เทียมเก่า
Back, Neck and Other Joint Pain Research Group, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University; e-mail: uraiwon@kku.ac.th
บทคัดย่อ
 
อาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรังและไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่พบมากที่สุดในกลุ่มอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะได้ ปัจจุบันการนวดไทยเป็นการรักษาทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่ยังขาดงานวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่รัดกุม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวดไทยต่อระดับระดับความรู้สึกกดเจ็บ ความรู้สึกปวด และองศาการเคลื่อนไหวของคอ เปรียบเทียบกับกลุ่มนวดหลอก (sham ultrasound) โดยการนวดคลึงเบาๆ และไม่เปิดเครื่อง โดยแต่ละคนได้รับการสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทยและการนวดหลอก ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาเพียงครั้งเดียวระหว่างก่อน-หลังการรักษา ทั้งสองกลุ่มมีการเพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บเพียงเล็กน้อย (กลุ่มนวดไทย 2.95 ปอนด์/ตารางเซนติเมตร และกลุ่มนวดหลอก 2.92 ปอนด์/ตารางเซนติเมตร) และไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ (P-value > 0.05) สำหรับระดับอาการปวดศีรษะของทั้งสองกลุ่มมีการลดลงของอาการปวดศีรษะ (กลุ่มนวดไทย 2.76 เซนติเมตร, กลุ่มนวดหลอก 2.72 เซนติเมตร) และไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ (P-value > 0.05) เช่นเดียวกันกับผลขององศาการเคลื่อนไหวของคอ ที่พบเพียงการหมุนคอไปทางขวาเท่านั้นที่กลุ่มนวดไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากกว่ากลุ่มนวดหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) จากผลการศึกษาจึงสรุป
ได้ว่า ทั้งการนวดไทยและนวดคลึงเบาๆ ด้วย ultrasound ให้ผลในการบรรเทาอาการปวดได้ใกล้เคียงกันซึ่งอาจส่งเสริมให้เป็นการรักษาอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง
 
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2555, May-August ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 220-234
คำสำคัญ
Traditional Thai massage, การนวดไทย, Migraine, Chronic tension-type headache, อาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้องรัง, ไมเกรน