คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ภายหลังการรักษาด้วยโบทูลินั่มทอกซิน เอ: การศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้งสองฝ่ายเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างดิสพอร์ตและนิวโรนอกซ์โดยวิธีการไขว้
Subsai Kongsengdao*, Saksit KritalukkulDivision of Neurology, Department of Medicine, Rajavithi Hospital, College of Medicine, Rangsit University, 2 Phyathai Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand; Phone: 0-2354-8108 ext. 2823; E-mail: Skhongsa@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นกลุ่มอาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งมีอาการหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นบางครั้งไม่สม่ำเสมอ โดยมีอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยไม่ทราบสาเหตุ การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างรักษาด้วย ดิสพอร์ตและนิวโรนอกซ์ ไม่เคยได้รับการศึกษามาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตภายหลังการรักษาผู้ป่วยโรคหน้ากระตุกครึ่งซีกด้วยโบทูลินั่มทอกซิน เอ (ดิสพอร์ตและนิวโรนอกซ์)
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้งสองฝ่าย เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยวิธีการไขว้การรักษาระหว่างโบทูลินั่มทอกซิน เอ ชนิดดิสพอร์ตและนิวโรนอกซ์ เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหน้ากระตุกครึ่งซีก โดยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก 30 ข้อ แบบสอบถามผลการรักษาแบบสั้น 36 ข้อมาตรวัดการเคลื่อนไหวผิดปกติ และแบบสอบถามระบาดวิทยาอาการซึมเศร้า ซึ่งได้ประเมินที่ก่อนการรักษาสัปดาห์ที่ 0 และสัปดาห์ที่ 12 และ 24 การบันทึกประจำวันตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับโรคหน้ากระตุกครึ่งซีกได้ถูกประเมินใน 4 อาทิตย์ หลังการรักษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหน้ากระตุกครึ่งซีกจำนวน 26 ราย เข้าร่วมการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึง มกราคม พ.ศ. 2554 ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก 30 ข้อ
มาตรวัดการเคลื่อนไหวผิดปกติ และแบบสอบถามระบาดวิทยาอาการซึมเศร้า มีผลดีขึ้นหลังจากรักษาโดยไม่มีความแตกต่างระหว่างการรักษาทั้ง 2 ชนิด อย่างมีนัยสำคัญ แบบสอบถามผลการรักษาสั้น 36 ข้อ ไม่มี
การเปลี่ยนแปลงในทั้ง 2 กลุ่ม การรักษาอย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหน้ากระตุกครึ่งซีก30 ข้อ มาตรวัดการเคลื่อนไหวผิดปกติและแบบสอบถามระบาดวิทยาอาการซึมเศร้า มีค่าดีขึ้นภายหลังการรักษาด้วยโบทูลินั่มทอกซิน ภายหลังการรักษา 24 สัปดาห์ (p = 0.090, 0.020, 0.001 ตามลำดับ) ค่าคะแนนความรุนแรงของโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก, ระยะเวลาใบหน้ากระตุกต่อวันและระยะเวลาการสูญเสียการทำงานต่อวัน ในการรักษาด้วยดิสพอร์ต ดีกว่าการรักษาด้วยนิวโรนอกซ์ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001)
สรุป: ไม่มีความแตกต่างกันในแง่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหน้ากระตุกครึ่งซีก ระหว่างการรักษาด้วยดิสพอร์ตและนิวโรนอกซ์ อย่างไรก็ดีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นภายหลังการรักษาด้วยใบทูลินั่มทอกซินซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, March
ปีที่: 95 ฉบับที่ Suppl3 หน้า S48-S54
คำสำคัญ
Hemifacial spasm, Botulinum toxin A Dysport® Neuronux®, Quadity of Life