การรับประทาน calcitriol เพื่อรักษาโปรตีนในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวาน: การศึกษาแบบเปิดที่มีการควบคุมและสุ่ม
รุ่งระวี มหรรณพกุล, สกานต์ บุนนาค, อุดม ไกรฤทธิชัย*
Division of Nephrology, Department of Medicine, Rajavithi Hospital, College of Medicine, Rangsit University, 2 Phyathai Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand; Phone: 0-2354-8059, Fax: 0-2354-8188; E-mail: krairit@yahoo.com
บทคัดย่อ
 
ภูมิหลัง: การเสื่อมของโรคไตจากเบาหวานสัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการให้วิตามินดีช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะและช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้
วัตถุประสงค์: ต้องการประเมินผลของการรับประทาน calcitriol ในการลดโปรตีนในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานชนิดที่สอง
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบเปิดที่มีการควบคุมและสุ่มนาน 16 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานชนิดที่สอง จำนวน 91 ราย ที่มีหน้าที่ไตมากกว่า 15 ml/min/1.73 m2 และมี urine protein to creatinine ratio (UPCR) มากกว่า 1 g/g ผู้ป่วยจะถูกสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มได้รับ calcitriol 0.5 mcg รับประทานสองครั้งต่อสัปดาห์ (n = 46) หรือกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (n = 45) โดยมีการวัดผลจากการเปลี่ยนแปลงของ UPCR ระหว่างเริ่มต้นและ16 สัปดาห์หลังการรักษาของทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา: เมื่อเริ่มสุ่มพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม calcitriol จะมี UPCR 3.7 ±  2.2 g/g และกลุ่มควบคุมมี UPCR 3.4 ±  2.1 g/g ภายหลัง16 สัปดาห์ของการรักษาผู้ป่วยกลุ่ม calcitriol จะมี UPCR 2.9 ±  1.7 g/g และกลุ่มควบคุมมี UPCR 3.5 ±  2.3 g/g ส่วนร้อยละการเปลี่ยนแปลงของ UPCR ระหว่างเริ่มต้นและ16 สัปดาห์หลังการรักษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม calcitriol และกลุ่มควบคุมเท่ากับ -18.7% และ +9.9% (p < 0.01) ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีการลดลงของโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 30% ในผู้ป่วย กลุ่ม calcitriol และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 43.5% และ11.1% (p < 0.01) ตามลำดับ หน้าที่ไตและความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงทั้งสองกลุ่ม ไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม
สรุป: Calcitriol สามารถลดโปรตีนในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานโดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, March ปีที่: 95 ฉบับที่ Suppl3 หน้า S41-S47
คำสำคัญ
Calcitriol, Diabetic kidney disease, Proteinuria