ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
อรนุช อิฐรัตน์*, อรนุช แซ่ลี้กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง
สถานที่ศึกษา: แผนกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดและรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด จำนวน 30 ราย
วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดโดยการจับฉลากเข้ากลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 15 ราย และกลุ่มควบคุม 15 ราย ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลตามปกติ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินคะแนนคุณภาพชีวิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนได้รับยาเคมีบำบัดและอีกประมาณ 1 เดือน เมื่อผู้ป่วยมาตามนัดจะได้รับการประเมินซ้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบประเมินคุณภาพชีวิต โดยได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สถิติอัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P < 0.01
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2545, September-December
ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 51-64