ผลการใช้รูปแบบการจัดการตนเองต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น โรงพยาบาลพระปกเกล้า
พัชรี ประภาสิต, วันดี บุญเกิด, อนัญญา บำรุงพันธุ์*
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มี
ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 และหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 3 จานวน 16 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น 2) คู่มือการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น 3) สมุดบันทึกการติดตามตนเอง 4) สื่อประกอบการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนในการควบคุมโรค
และ 5) แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น หลังได้รับการดูแลด้วยรูปแบบการจัดการตนเอง มีคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ โรงพยาบาลควรมีการวางระบบการให้บริการผู้ป่วยในลักษณะเฉพาะโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่พบบ่อยหรือโรคเรื้อรังในสาขาอายุรกรรมและผู้ป่วยที่มีการเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนด้านการบริการควรมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลที่มุ่งเน้นการดูแลเชิงคุณภาพ การสร้างเครือข่ายการสื่อสารความรู้ให้กับผู้ป่วย ลักษณะกลุ่มมิตรภาพบำบัดซึ่ง จะส่งผลทาให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลตนเองของประชาชนเพิ่มยิ่งขึ้น
 
ที่มา
วารสารกองการพยาบาล ปี 2554, January-April ปีที่: 38 ฉบับที่ 1 หน้า 42-51
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น, รูปแบบการจัดการตนเอง