คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี
ทัศนันท์ ทุมมานนท์, ธาริน สุขอนันต์*, ปิยรัตน์ จิตรภักดี, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์
Sirindhorn College of Public Health Chonburi, 29 Moo.4, Bansuan Subdistrict, Maung District, Chonburi Province 20000, Thailand; E-mail address: tharinsu@gmail.com
บทคัดย่อ
 
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 1–30 เมษายน 2553 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียวและ Tukey’s HSD
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 93.76) โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (x bar = 91.49) ร้อยละ 64.2 รองลงมาเป็นระดับดี (x bar = 108.73) ร้อยละ 24.8 และระดับไม่ดี ( x bar = 73.43) ร้อยละ 11.0 เมื่อพิจารณารายได้พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ ตามลำดับ (x bar = 27.51, 25.06 และ 21.15) ส่วนที่อยู่ในระดับดี คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (x bar = 20.04)
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในปัจจัยต่อไปนี้ คือ อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้, การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมและการรับสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60–69 ปี, การศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป,อาชีพข้าราชการบำนาญ, รายได้เฉลี่ยมากกว่า 5,001 บาท, เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม, และไม่รับสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่น จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นการพัฒนาด้านร่างกายจิตใจและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุคุณภาพชีวิตให้มากขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตจากปานกลางไปสู่ระดับดี
 
ที่มา
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปี 2554, September-December ปีที่: 41 ฉบับที่ 3 หน้า 240-249
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต