ผลของการใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหูต่อความเจ็บปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอด
นิตยา ทองมา
วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีจุดุมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหูกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอด จำนวน 40 คน ซุ่มอย่างง่าย และแบ่งกลุ่มโดยการจับคู่ ได้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มและ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เม็ดแม่เหล็ก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดความเจ็บปวดแบบ วิช่วล เรตติ้ง สเกลส การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหู มีความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอด หลังกดจุด 1 นาที และหลังกดจุด 10 นาที น้อยกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหู มีความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดก่อนกดจุด ลดลงกว่า หลังกดจุด 1 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหู มีความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดก่อนกดจุด ลดลงกว่าหลังกดจุด 10 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เม็ดแม่เหล็กกดจุดบนใบหู มีคะแนนความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดหลังกดจุด 1 นาที ลดลงกว่าหลังกดจุด 10 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
ที่มา
วารสารการพยาบาลและการสาธารณสุข วิทยาลัยเครือข่ายภาคกลาง 2 ปี 2551, January-June ปีที่: 5 ฉบับที่ 1 หน้า 71-80
คำสำคัญ
pain, ความเจ็บปวด, Magnetic, Auricular Acupressure, Post Cesarean Section, เม็ดแม่เหล็ก, กดจุดบนใบหู, หลังผ่าตัดคลอด