ผลของโปรแกรมการจัดการการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อค่าดัชนีมลกายของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
ชนกพร จิตปัญญา*, พูลสุข หิรัญสาย, สุชาต ไชยโรจน์
Faculty of Nursing, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
 
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อ ค่าดัชนีมวลกายของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำการเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจครั้งแรก ที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ ระดับไขมันในเลือด ยาลดไขมัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการพยาบาลตามปกติ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิด บทบาทพยาบาลในการจัดการปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดของ Sol et al. (2005) โดยใช้แนวทางการจัดการตนเองตามพื้นฐานของสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา (Bandura, 1997) โดยมีกิจกรรมคือการประเมิน การเพิ่มสมรรถนะในการจัดการตนเอง การเป็นที่ปรึกษา การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดรูปแบบ การติดตามผู้ป่วย การป้อนกลับและประเมินความก้าวหน้า โดยจะติดตามผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจนกระทั่งมาติดตามการรักษาหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางสรีระวิทยา แบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
                ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงเบนหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมี ค่าดัชนีมวลกายแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.659, p = 0.01) ผลการงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบของการพยาบาลในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจรวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและสร้างเสริมสุขภาพ
 
ที่มา
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ปี 2550, January-June ปีที่: 18 ฉบับที่ 1 หน้า
คำสำคัญ
Heart disease, Body mass index, Risk factors, โรคหัวใจ, ดัชนีมวลกาย, ปัจจัยเสี่ยง