การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษา Idiopathic trigger finger ด้วยการฉีด triamcinolone acetonide จำนวน 10 และ 40 มิลลิกรัม
วิทยา หอมฉุน
Department of Orthopaedic Surgery, Sakeao Crown Prince Hospital, Thailand
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาของการฉีด triamcinolone acetonide ในผู้ป่วยนิ้วล็อค Idiopathic trigger finger ระหว่าง 10 มก.และ 40 มก. ที่ระยะเวลา 6 และ 12 สัปดาห์หลังการรักษา
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบ prospective randomized control trial มีจำนวนผู้ป่วย 74 คนเข้าร่วมในการวิจัยโดยสุ่มได้รับการฉีดยา triamcinolone acetonide ปริมาณ 10 มก.จานวน 41 คน และปริมาณ 40 มก.จานวน 33 คนผลการรักษาวัดความเจ็บปวดจาก Visual analog score, ความรุนแรงของโรคด้วย Quinnell grading และอัตราการหายจากโรค(Quinnell grade 0) ที่ 6 และ 12 สัปดาห์
ผลการศึกษา: หลังจากการให้ยา 12 สัปดาห์มีผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยา 10 และ 40 มก.มาติดตามผลการรักษา 39 และ 28 คน ตามลา ดับโดย ความเจ็บปวดลดทั้งสองกลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนรักษาทั้ง 6 สัปดาห์และ 12 สัปดาห์ (p<0.05) ทั้งนี้กลุ่มที่รับยา 40 มก. มีอัตราการหายจากโรคและความเจ็บปวดลดลงดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยา 10 มก. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งที่ 6 สัปดาห์ (p=0.008 และ p=0.002 ตามลา ดับ) ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 12 สัปดาห์ (p=0.07 และ p=0.881 ตามลา ดับ) ผู้ป่วย 2 คน (กลุ่มละ 1คน) เลือกการผ่าตัดหลังจากอาการไม่ดีขึ้นหลังฉีด 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
สรุป: การรักษานิ้วล๊อคด้วยการฉีด triamcinolone acetonide ขนาด 40 มก. เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 มก. พบว่าขนาด 40 มก.สามารถลดอาการปวดและมีอัตราการหายที่ 6 สัปดาห์ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่ที่ 12 สัปดาห์พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งอาการปวดและอัตราการหาย
 
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2555, January-April ปีที่: 36 ฉบับที่ 1-2 หน้า P16-P21
คำสำคัญ
Triamcinolone acetonide, dose, corticosteroid injection, idiopathic trigger finger