การศึกษาการเปรียบเทียบการใช้ยา Etoricoxib กับยาหลอกเพื่อลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการขูดมดลูกร่วมกับการฉีดยาชาด้านข้างของปากมดลูก
อนันต์ มุ่งเจริญสันติกุล
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการลดความเจ็บปวดของยา Etoricoxib ร่วมกับการฉีดยาชาด้านข้างของ
ปากมดลูกในผู้ป่วยที่ได้รับการขูดมดลูก
รูปแบบการวิจัย : Double-blinded, randomized, placebo-controlled trial
วิธีการศึกษา : กลุ่มผู้ป่วยนอกจำนวน 80 คนได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก อายุ 35-60 ปี ที่ต้องได้รับการขูดมดลูกโดยวิธีการฉีดยาชาด้านข้างของปากมดลูก (Paracervical block) โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม 40 คนแรกได้รับยา Etoricoxib 120 mg. และ 40 คนต่อมาได้รับยาหลอก ประเมินผลโดยการวัดความเจ็บปวดหลังจากขูดมดลูกโดยใช้ visual analog pain score โดยการวิจัยนี้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
สถิติ : Student’s t-test, Mann-Whitney U-test, and Chi-squared test
ผลการศึกษา : ความรุนแรงของความเจ็บปวดหลังจากการขูดมดลูกในผู้ป่วยที่ได้รับยา Etoricoxib ตํ่ากว่า
ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (median visual analog pain score 48 ต่อ 61, P = 0.001) จำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาพาราเซตตามอลในกลุ่มที่ได้รับยา Etoricoxib น้อยกว่ากลุ่ม ที่ได้รับยาหลอก (2.2 ±1.7 ต่อ 3.2 ± 1.7 เม็ด P = 0.011) และไม่พบผลข้างเคียงจากการศึกษานี้
สรุป : การให้ยา Etoricoxib 120 mg. ร่วมกับการฉีดยาชาด้านข้างของปากมดลูก (paracervical block) สามารถลดความเจ็บปวดระหว่างการขูดมดลูกได้ อย่างไรก็ตามความแรงของความเจ็บปวดที่ลดลงได้ไม่ได้มีความสำคัญในทางปฏิบัติมากนัก
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2554, May-August ปีที่: 26 ฉบับที่ 2 หน้า 167-177
คำสำคัญ
Fractional curettage, Etoricoxib, การขูดมดลูก, COX-2, Visaul analog score