การรักษาเทอร์บิเนตอันล่างของจมูกบวมโตแบบผู้ป่วยนอก : เปรียบเทียบวิธีการผ่าตัดรักษาโดยใช้เครื่องมือ 4 ชนิด
นฤวัต เกสรสุคนธ์
Department of Otorhinolaryngology, Samut Sakhon Hospital, Thailand
บทคัดย่อ
 
                การวิจัยเชิงศึกษาไปข้างหน้าเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาเทอร์บิเนตอันล่างของจมูกบวมโตแบบผู้ป่วยนอก โดยการใช้การผ่าตัดด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด คือ คลื่นวิทยุแบบไม่ควบคุมอุณหภูมิ คลื่นวิทยุแบบควบคุมอุณหภูมิ เครื่องตัดปั่นดูด ตัดเนื้อเยื่อบุจมูกและคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ระเหิดเยื่อบุจมูก ศึกษาในผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมุทรสาคร ระหว่างสิงหาคม 2547 ถึง กันยายน 2551 จับฉลากแบ่งผู้ป่วย 120 รายเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 30 ราย) ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้รับการผ่าตัดรักษาเทอร์บิเนตอันล่างของจมูกบวมโตในจมูกทั้งสองข้างโดยเครื่องมือชนิดเดียวกัน ประเมินผลการรักษาโดยใช้อาการเชิงประจักษ์ และการทดสอบการทำงานของขนกวัดของเยื่อบุจมูกโดยขันฑสกร ที่เวลา 12 สัปดาห์ และ 24 สัปดาห์ หลังรับการรักษา ผลการศึกษาแสดงว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีอาการดีขึ้น และขนาดเทอร์บิเนตอันล่างเล็กลงโดยการรักษาทั้ง 4 วิธี อีกทั้งไม่พบความแตกต่างจากการประเมินอาการเชิงประจักษ์ และขนาดเทอร์บิเนตอันล่าง โดยการรักษาทั้ง 4 วิธี เมื่อประเมินผล 12 สัปดาห์ และ 24 สัปดาห์ หลังจากรับการรักษา การทำงานของขนกวัดของเยื่อบุจมูกโดยขันฑสกรช้าลง ในผู้ป่วยรับการผ่าตัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ แต่ไม่พบความผิดปรกติการทำงานของขนกวัดของในการผ่าตัดอีก 3 วิธีที่เหลือ การใช้เครื่องตัดปั่นดูด ตัดเนื้อเยื่อได้เยื่อบุจมูกใช้เวลาการผ่าตัดนานกว่าวิธีอื่น และต้องใช้เครื่องมือประกอบการผ่าตัดมากกว่า ผลการศึกษานี้พบว่าการผ่าตัดรักษาเทอร์บิเนตอันล่างของจมูกบวมโต โดยการใช้คลื่นทั้งสองแบบ ทั้งแบบไม่ควบคุมอุณหภูมิ และควบคุมอุณหภูมิ ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากการใช้ เครื่องตัดปั่นดูด ตัดเนื้อเยื่อบุจมูก และคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ระเหิดเยื่อบุจมูกในการติดตามผู้ป่วย 24 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดโดยคลื่นวิทยุทั้งสองแบบพบว่าคลื่นวิทยุแบบไม่ควบคุมอุณหภูมิ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดกว่าแบบควบคุมอุณหภูมิ การผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุแบบไม่ควบคุมอุณหภูมิจึงมีคุณสมบัติเหมาะสมจะใช้เป็นการผ่าตัดขั้นต้นในการรักษาเทอร์บิเนตอันล่างของจมูกบวมโตแบบผู้ป่วยนอกมากกว่าการผ่าตัดแบบอื่น
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2553, November - December ปีที่: 19 ฉบับที่ 6 หน้า 885-864
คำสำคัญ
surgery, คลื่นวิทยุ, ผ่าตัด, เทอร์บิเนตของจมูกบวมโต, คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์, Inferior turbinate hypertrophy, Radiofre, เครื่องตัด ปั่น ดูด