ผลของการออกกำลังกายในน้ำและบนบกแบบเป็นกลุ่มต่อการทรงตัวในหญิงไทยอายุ 60 ปี ขึ้นไป
ชุติกาญจน์ หอประสิทธิ์กุล, ปรารถนา เนมีย์, ปิยาภา แก้วอุทาน*
Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Science, Thammasat University, Pathumtani, 12120 THAILAND, Email : knotnarak@yahoo.com Tel: 66 2 9869213
บทคัดย่อ
 
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ในทางเสื่อมลง เช่น ความ
แข็งแรงของกล้ามเนื้อการมองเห็น การรับรู้ต่อการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ความไวในการตอบสนองของ
ระบบเวสติบูล่าร์ และเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ซึ่งส่งผลทาให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุลดลง
และอาจเกิดการล้มได้ โดยปัจจัยหลักที่ทาให้เกิดการล้มคือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการออกกาลังกายในน้ำและบนบกต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า60 ปี ขึ้นไป
วิธีการ: ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดจำนวน60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกายในน้ำกลุ่มออกกำลังกายบนบก และกลุ่มควบคุม ซึ่งทาการวัดสมดุลร่างกายด้วยวิธีเอื้อมมือ (Functional Reach Test; FR) และวัดสมดุลร่างกายด้วยการเดิน (Time Up & Go test; TUG) ในช่วงก่อนและหลังออกกำลังกายในทุกสัปดาห์ในกลุ่มออกกำลังกายทั้งสองกลุ่ม และก่อนได้ รับความรู้และสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพ และหลังจากการได้ รับความรู้ทุกสัปดาห์ในกลุ่มควบคุม โดยออกกำลังกายหรือได้รับความรู้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ทั้งหมด 4 สัปดาห์ การออกกำลังกายทั้งหมด 1 ชั่ว โมง แบ่งเป็น อบอุ่นร่างกาย 10 นาที ออกกำลังกาย 40 นาที และ ผ่อนคลายร่างกาย 10 นาที กำหนดความหนักในการออกกำลังกายเท่ากับ 11 RPE
ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (65.05±6.26, 68.55±6.75 และ 65.25±5.51 ปี ตามลำดับ) ในการวัดFR พบว่ากลุ่มออกกำลังกายในน้ำและกลุ่มออกกำลังกายบนบกมีระยะการเอื้อมือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างก่อนและหลังออกกำลังกายสัปดาห์ที่ 4 (กลุ่มในน้ำ : 32.39 ±1.96, 39.08±0.91, กลุ่มบนบก: 30.03±1.97, 36.01±1.55 ซม. ตามลาดับ) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในกลุ่มควบคุม (29.04±1.53, 31.28±0.82 ซม.) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระหว่างกลุ่มออกกำลังกายในน้ำ กับกลุ่มออกกำลังกายบนบก ซึ่งทั้งสองกลุ่มต่างจากกลุ่มควบคุม สาหรับการวัด TUG พบว่าทั่งสามกลุ่มมีระยะเวลาในการเดินลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างก่อนออกำลังกายและหลังออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 4 (กลุ่มใน
น้ำ : 9.03±0.62, 6.43±0.26, กลุ่มบนบก: 10.37±0.5, 7.04±0.35, กลุ่มควบคุม: 8.29±0.94, 7.36±0.28
วินาที ตามลำดับ) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่มออกกำลังกายในน้ำ กับกลุ่มออกกำลังกายบนบกหลังออกกำลังกายในสัปดาห์ ที่ 4
สรุปผลการศึกษา: การออกกำลังกายเป็นกลุ่มเพิ่มการทรงตัวทั้งการออกกำลังกายในน้ำ และบนบกจากการวัด FR และ TUG และพบว่าการออกกำลังกายในน้ำเพิ่มการทรงตัวได้ดีกว่าบนบกในการวัด TUG ส่วนการเพิ่มขึ้นของการทรงตัวในกลุ่มควบคุมจากการวัดTUG เนื่องจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย เคยชินกับการทดสอบที่ทดสอบทุกสัปดาห์เปรียบเสมือนการฝึกฝนเพิ่มขึ้น
 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2554, January-April ปีที่: 33 ฉบับที่ 1 หน้า 1-9
คำสำคัญ
elderly, balance control, risk of fall, water-based group exercise, land-based group exercise