ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาตัวยยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ปรียารัตน์ แขมคำ*, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, พัชรินทร์ นินทจันทร์
Faculty of Nursing, Eastern Asia University
บทคัดย่อ
 
            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษา ณ คลินิกสุขภาพจิตแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 20-60 ปี ซึ่งคัดเลือกจากประชากรที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 50 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติที่เปรียบเทียบคะแนนความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา โดยควบคุมตัวแปรร่วม คือ ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระยะเวลาการรับประทานยา ระดับภาวะซึมเศร้า และคะแนนก่อนการทดลองด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANCOVA
                ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน และร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปรกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา สามารถเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2554, October-December ปีที่: 11 ฉบับที่ 4 หน้า 528-534
คำสำคัญ
Depression, โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา, ความร่วมมือในการรักษา, Medication adherence, Psychoeducation program, โรคซึมเศร้า