ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกับอาการหายใจลำบากต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Sirirojporn W, วิชญ์ สิริโรจน์พร
Fang Hospital, Chaingmai, Thailand
บทคัดย่อ
 
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกับอาการหายใจ ลำบากต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 ราย ระยะเวลาดำเนินการศึกษา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2551 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกับอาการหายใจลำบาก และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกค่าใช้จ่ายในการรักษา แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย และการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยวัดผลก่อนให้โปรแกรมกับหลังให้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Independent sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังจากได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกับอาการหายใจลำบากลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
 
ที่มา
วารสารกรมการแพทย์ ปี 2550, January-March ปีที่: 32 ฉบับที่ 1 หน้า 93-99
คำสำคัญ
Cost, Chronic obstructive pulmonary disease, ค่าใช้จ่าย, Additional programme to manage dyspnea, โปรแกรมส่งเสริมการจัดการกับอาการหายใจลำบาก, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง