การพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ของไทยเพื่อศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลของการเปลี่ยนการรักษาเป็น bupropion เทียบกับการรักษาผสมด้วย bupropion หลังจากการล้มเหลวต่อ SSRIs สำหรับโรคซึมเศร้า
ธวัชชัย ลีฬหานาจ
Department of Psychiatry and Neurology, Phramongkutklao Hospital, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์และการประมาณการด้านต้นทุน-ประสิทธิผลของการเปลี่ยนการรักษาเป็น bupropion เทียบกับการรักษาผสมด้วย bupropion หลังจากการล้มเหลวต่อ SSRI ในการรักษาโรคซึมเศร้า
วัสดุและวิธีการ: แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้ป่วยนอกชาวไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่มีอาการโรคจิตที่ไม่เกิดการสงบของโรคหรือไม่สามารถทนต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม SSRIs คือ citalopram ได้ และได้รับการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนการรักษาเป็น bupropion หรือการรักษาผสมด้วยbupropion ร่วมกับ citalopram ข้อมูลทางคลินิกได้จากการศึกษา 2 ชิ้นของการศึกษา STAR*Dความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 4 อย่างได้แก่ อัตราการสงบของโรค อัตราการไม่สงบของโรค อัตราการออกจากการรักษาเนื่องจากการไม่สามารถ ทนต่อการรักษาได้ และอุบัติการณ์ของการเกิดอาการ ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้ถูกการประมาณการ ต้นทุนทางตรง ประกอบด้วยค่ายา ค่าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และค่าบำบัดด้วยการกระตุ้นให้ชักด้วยไฟฟ้า ผลลัพธ์ปฐมภูมิของ แบบจำลองคือการสงบของอาการของโรค ข้อมูลที่ได้จะถูกวัดเป็นต้นทุนต่อการสงบของโรคและต้นทุนต่อ QALYs
ผลการศึกษา: การวิเคราะห์ base-case พบว่า ต้นทุนทางตรงทั้งหมดของการเปลี่ยนการรักษาเป็น bupropion เท่ากับ 22,937 บาทต่อการสงบของโรค และ 29,346 บาทต่อการสงบของโรคของการรักษาผสมด้วย bupropion เมื่อเทียบกับการรักษาผสมพบว่า การเปลี่ยนการรักษามีต้นทุนต่อ QALY ต่ำกว่า (28,672 บาท เทียบกับ 36,682 บาท) และมีต้นทุนต่ำกว่าร้อยละ 21.8 ค่า incremental cost-effectiveness ของการรักษาผสมเทียบกับการเปลี่ยนการรักษาเท่ากับ 6,409 บาทต่อการสงบของโรคที่เพิ่มขึ้น 1 ราย และเท่ากับ 8,011 บาทต่อ QALY ที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย การวิเคราะห์ความไวพบว่า การรักษาผสมจะเหนือกว่าการเปลี่ยนการรักษาหากการรักษาผสมมีอัตราการสงบของโรคมากกว่า 0.547
สรุป: แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ล้มเหลวต่อ SSRI ด้วยการเปลี่ยนการรักษาเป็น bupropion เป็นวิธีที่มีต้นทุน-ประสิทธิผลเหนือกว่าการรักษาผสมด้วย SSRI กับ bupropion
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2553, November ปีที่: 93 ฉบับที่ Suppl 6 หน้า S35-S42
คำสำคัญ
cost-effectiveness, combination, Bupropion, Switching, Major depressive disorder