ผลการให้ยาอีฟิดรีนในหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดภายใต้การระงับความรู้สึกเฉพาะที่
ช่อทิพ กาญจนจงกล*, ชุติมา ทัพน้อย, นนทลี บุญเฉลียว
Division of Anesthesiology, Prachuab-khiri-khan hospital
บทคัดย่อ
 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการให้ยาอีฟิดรีนในหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดภายใต้การระงับความรู้สึกเฉพาะที่

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา double-blind randomized controlled ระหว่าง มกราคม 2549 – เมษายน 2550 ในหญิงตั้งครรภ์ 90 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ภายหลังจากให้สารน้ำ lactate Ringer’s 15 มล./กก. และให้การระงับความรู้สึก โดยใช้เทคนิค spinal ในท่าตะแคงขวาด้วยยา 0.5% hyperbaric bupivacaine 1.8 ซีซี ร่วมกับ morphine 200 ไมโครกรัม กลุ่มควบคุมได้รับ normal saline 2 ซีซี กลุ่ม E-5 ได้รับอีฟิดรีน 5 มิลลิกรัมขนาด 2 ซีซี กลุ่ม E-10 ได้รับอีฟีดรีน 10 มิลลิกรัม ขนาด 2 ซีซี ให้อิฟิดรีน 5 มิลลิกรัม เมื่อความดันโลหิตต่ำกว่า 90 มม.ปรอท หรือลดลงต่ำกว่า 20 % หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ผลการศึกษา: ไม่พบการลดลงของอุบัติการณ์ความดันโลหิตต่ำในกลุ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ (53.67% vs 33.33%, 36.63%) p > 0.05 ไม่พบความแตกต่างในค่า Apgar score ในทารกแรกคลอดทั้ง 3 กลุ่ม รวมทั้งไม่พบภาวะความดันโลหิตสูงในกลุ่มศึกษา

สรุป: การให้ยาอีฟิดรีนในขนาด 5 หรือ 10 มิลลิกรัม ไม่ลดอุบัติการณ์เกิดความดันโลหิตต่ำในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ชนิด spinal เพื่อผ่าตัดคลอด และขนาดยาดังกล่าวไม่มีผลต่อ Apger score ในทารกแรกคลอด

 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 6-7 ปี 2551, April-June ปีที่: 27 ฉบับที่ 2-3 หน้า 807-815
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, Ephedrine, caesarean section, Hypotension