ผลของการใช้แนวทางการให้ยาระงับปวดในห้องพักฟื้น
ช่อทิพ กาญจนจงกล
Division of Anesthesiology, Prachuabkhirikhan hospital
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราปวดแผลผ่าตัดก่อนและหลังการใช้แนวทางการให้ยาระงับปวดในห้องพักฟื้น
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงทดลองในผู้มารับบริการผ่าตัดรับการระงับความรู้สึกชนิด general anesthesia ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือน เมษายน ถึงกันยายน 2546 อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งในเดือนเมษายน-มิถุนายน บริหารยาระงับปวด morphine ตามปกติ กลุ่มสองในเดือนกรกฎาคม-กันยายน บริหารยาระงับปวด morphine ตามแนวทางที่จัดทำ ทั้งสองกลุ่มประเมินอาการปวดด้วย numeric rating scale (NRS) นิยามอาการปวดที่ต้องได้รับยาระงับปวดคือ NRS ≥ 5
ผลการศึกษา: พบว่าจำนวนผู้มารับบริการผ่าตัดระงับความรู้สึกชนิด general anesthesia ในช่วงการศึกษา 900 ราย กลุ่มหนึ่งจำนวน 451 ราย พบอาการปวด (NRS ≥ 5) ก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยจำนวน 49 รายคิดเป็น 10.86% กลุ่มสองจำนวน 449 ราย พบอาการปวด (NRS ≥5) ก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยจำนวน 8 ราย คิดเป็น 1.78 % หาความสัมพันธ์จำนวนผู้มารับบริการผ่าตัดและมีอาการปวดในห้องพักฟื้นกับการใช้แนวทางการระงับปวดโดยใช้ SPSS 11.5 for windows, chi-square test พบค่า p-value < 0.05 (0.001)
สรุป: การบริหารยาระงับปวดในห้องพักฟื้นโดยใช้แนวทางการใช้ยาระงับปวดมีผลลดอาการปวดในห้องพักฟื้นโดยมีอัตราปวด < 5% เมื่อเทียบกับการให้ยาระงับปวดโดยไม่ใช้แนวทางการให้ยาระงับปวดพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อให้นิยามอาการปวดที่ต้องได้รับยาระงับปวดคือ NRS ≥ 5
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 6-7 ปี 2549, April-June ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 205-210
คำสำคัญ
PACU,  Analgesic guideline