ผลการปรับเปลี่ยนการรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ปราณี ลัคนาจันทโชติ, สิทธิพร ห่อหริตานนท์, เนติ สุขสมบูรณ์*, นลินี พูลทรัพย์
Faculty of Pharmacy, Mahidol University
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อประเมินผลของโปรแกรมการอบรมการรับรูความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และการรับรูความสามารถตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสมุทรสาครจํานวน 54 คน จัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยใช้เลขสุ่มที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร ผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับการ อบรมตามโปรแกรมการอบรมการรับรูความสามารถตนเอง ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการอบรม ประเมินผลเมื่อเริ่มต้นการศึกษาและที่เวลา 3 เดือนหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใชแบบทดสอบการรับรู้ความสามารถตนเอง แบบทดสอบพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบทดสอบความรูเรื่องโรคเบาหวานผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มมี    จํานวน 27 คน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการอบรมการรับรูความสามารถตนเอง ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความรูเรื่องโรคเบาหวานและการรับรูความสามารถตนเองไม่แตกต่างกัน ภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (56.0 ± 5.5 คะแนน เทียบกับ 50.9 ± 6.0 คะแนน, P = 0.002) แตมีการรับรูความสามารถตนเองและความรู้เรื่องโรคเบาหวานไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ถึงแม้ว่าโปรแกรมการอบรมการรับรูความสามารถตนเองจะไม่มีผลต่อการรับรูความสามารถตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ทําให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการศึกษาต่อไปว่าผู้ป่วยจะสามารถคงพฤติกรรมนั้นไว้ได้หรือไมและคงไว้ได้นานเพียงใด 
ที่มา
ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร ปี 2548, November ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 145-153