ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจ และการกลับมารักษาซ้ำ
พันธ์ศักดิ์ ลักษณบุญส่ง, พิมพา เทพวัลย์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล*, อุษาวดี อัศดรวิเศษ
Faculty of Nursing, Mahidol University, Bangkok, Thailand; E-mail: nswpi@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจ และการกลับมารักษาซ้ำรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันรายใหม่ ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 ราย กลุ่มควบคุม 32 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่าย และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ANCOVA Independent t-test และ Chi-square test ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่ายในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และจำนวนผู้ป่วยที่มีการกลับมารักษาซ้ำในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลในการเพิ่มความพึงพอใจและลดการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน พยาบาลจึงควรมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในการปฏิบัติพยาบาล และมีการพัฒนาสมรรถนะในการวางแผนจำหน่ายร่วมกับทีมสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2554, April-June ปีที่: 29 ฉบับที่ 2 Suppl 1 หน้า 120-128
คำสำคัญ
Functional status, SATISFACTION, ความพึงพอใจ, Patients with acute coronary syndrome, Structured discharge planning program, Unexpected hospital revisits, การกลับมารักษาซ้ำ, การวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้าง, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน