ผลของโปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก
จงจิต เสน่หา, ทรงพร พุฒจีบ*, ปิยะภัทร เดชพระธรรม, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช
Lopburi hospital, Lopburi, Thailand; E-mail: somokok@msn.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีกรูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งชายและหญิงซึ่งมีญาติผู้ดูแลรักษาในหอผู้ป่วย อายุรกรรม และศัลยกรรมในโรงพยาบาลระดับจังหวัดแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และญาติดูแล 2. แบบประเมินระดับอาการปวดไหล่ในระยะต่างๆ, การทำหน้าที่ของแขน, พิสัยของข้อไหล่ และระดับของข้อไหล่เคลื่อน 3. โปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่ โดยใช้สถิติทดสอบวิลคอคซัน ไซน แรงค์เทส (Wilcoxon Signed Ranks test) และใช้สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ ยูเทส (Mann-Whitney U-test) ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่ ระดับอาการปวดไหล่ขณะพัก ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมไม่แตกต่างกัน โดยมีระดับอาการปวดไหล่ขณะเคลื่อนไหวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p < .01) พิสัยของข้อไหล่ในท่าหมุนแขนออกด้านนอกมากกว่า (p < .01) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลตามปกติสรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่นี้ สามารถลดระดับอาการปวดไหล่ขณะเคลื่อนไหว และข้อติดในท่าหมุนแขนออกด้านนอกในระยะหนึ่งเดือนหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาบาลและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามารถนำโปรแกรมการป้องกันอาการปวดไหล่ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ ในผู้ป่วยตั้งแต่ระยะแรกก่อนเกิดอาการ
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2553, October-December ปีที่: 28 ฉบับที่ 4 หน้า 95-105
คำสำคัญ
Stroke, โรคหลอดเลือดสมอง, Hemiplegia, อัมพาตครึ่งซีก, Shoulder pain, Exercise program, Pain prevention, อาการปวดไหล่, โปรแกรมป้องกันอาการปวดไหล่