บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาชีวสมมูลของยาเม็ดโคลซาปีนระหว่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบคือ ยา CloZarilâ ของบริษัท Novartis กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยคือ ยา Clopazeâ ของบริษัท Pharminarวิธีการศึกษา: ศึกษาในอาสาสมัครชายสุขภาพดี 12 คน โดยการให้อาสาสมัครรับประทานยาเม็ดโคลซาปีนในขนาด 100 มิลลิกรัม การศึกษาเป็นแบบสุ่มสลับ เก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครก่อนและหลังรับประทานยาที่เวลาต่างๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการให้ยา และวิเคราะห์หาความเข้มข้นของยาในพลาสม่าโดยวิธี HPLC ผลการศึกษา: พบว่าค่าตัวแปรทางเภสัชจลนพลศาสตร์ของยา Clozarilâ และ Clopazeâ ขนาด 100 มิลลิกรัม/เม็ด มีความแปรปรวนสูงคล้ายคลึงกับที่ได้มีการรายงานไว้แล้ว เมื่อนำไปทดสอบทางสถิติโดยวิธีที่กำหนดไว้ใน USP 23 พบว่า ค่าตัวแปรทางเภสัชจลนพลศาสตร์ของยาทั้งสองไม่แตกต่างกัน โดยมี 90% Confidence Interval ของอัตราส่วนของความเข้มข้นสูงสุดของยาในพลาสม่า (Cmax) หรือพื้นที่ใต้เส้นโค้งของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของยาในพลาสม่ากับเวลาช่วง 24 ชั่วโมง (AUC24hr) กับเวลาอนันต์ (AUCint) ในรูปลอการิทึมระหว่าง Clopazeâ กับ Clozarilâ อยู่ในช่วงที่ USP กำหนด (0.80- 1.25)สรุป: ยา Clozarilâ และ Clopazeâ ในขนาด 100 มิลลิกรัม/เม็ด ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีชีวสมมูลซึ่งกันและกัน
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2543, กรกฎาคม-กันยายน ปีที่: 45 ฉบับที่ 3 หน้า 221-227
คำสำคัญ
Bioequivalence, clozapine, ชีวสมมูล, โคลซาปีน