การสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตผู้ให้บริการทางเพศเชิงจิตพิสัย
พยนต์ หาญผดุงกิจ*, อัญชลี ตริตระการVeneral Disease Division, Department of Communicable Disease Control, Satorn, Bangkok 10120
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างแบบวัดคุณภาพชีวิตเชิงจิตพิสัย สำหรับผู้ให้บริการทางเพศในประเทศไทยวิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ให้บริการทางเพศที่เข้ารับบริการที่คลินิกกามโรคจังหวัด ระยะแรก ศึกษากรอบแนวคิด (n=28) ด้วยวิธี focus group discussion ระยะที่สองสร้างแบบวัดระดับความพึงพอใจในชีวิต โดยทดสอบ reliability และ validity จำนวน 2 ครั้ง (n=160 และ 5,574) เพื่อปรับปรุงแบบ และทดสอบการทำซ้ำผลการศึกษา: ผู้ให้บริการทางเพศส่วนใหญ่มีความรู้สึกโดดเดี่ยว และถูกกดดันจากสังคมจึงต้องการมีชีวิตอย่างมีความสุข มีฐานะการเงินที่มั่นคง ไม่เจ็บป่วย และแวดล้อมไปด้วยคนที่รักและจริงใจ แบบวัดระดับความพึงพอใจนี้มีค่า reliability = 0.86- 0.87 ผลการวิเคราะห์ discriminant validity โดยเทคนิคร้อยละ 33 และ criterion related validity โดยเปรียบเทียบกับ Health-related self-reported scale (HRSR) พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี (p<0.05) ส่วน construct validity สามารถสกัดองค์ประกอบได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่สุขภาพ อัตมโนทัศน์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้โอกาสของทางสังคม และสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยมีความแม่นยำในการทำนายร้อยละ 44.81 – 50.48สรุป: แบบวัดคุณภาพชีวิตในผู้ให้บริการทางเพศนี้ ถึงแม้ว่าจะมีความแม่นยำในการทำนายไม่สูงมาก แต่มีค่าความเชื่อถือได้ และความเที่ยงตรงอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้ในการเฝ้าระวังและประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาแบบองค์รวมได้เป็นอย่างดี
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2544, ตุลาคม-ธันวาคม
ปีที่: 46 ฉบับที่ 4 หน้า 289-300
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, sex worker, ผู้ให้บริการทางเพศ