เปรียบเทียบผลของการตั้งอัตราการช่วยหายใจที่ต่างกันในทารกคลอดก่อนกำหนดที่ป่วยด้วยโรค Respiratory Distress Syndrome
ภาวนา ตันติไชยากุล, วิฤทธิ์ ตันติไชยากุล*
Division of Pediatrics, Banpong Hospital, Ratchaburi Province
บทคัดย่อ
                ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการใช้เครื่องช่วยหายใจที่อัตรา 40 และ 70 ครั้งต่อนาทีในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 740 กรัมจนถึง 1,620 กรัม ซึ่งป่วยด้วยโรค Respiratory distress syndrome (RDS) และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อการรักษา ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่ม A ตั้งเครื่องช่วยหายใจที่อัตรา 40 ครั้งต่อนาทีและกลุ่ม B ที่อัตรา 70 ครั้งต่อนาทีตามลำดับ ประเมินผลการหายใจเมื่อเวลา 30 นาที 8 ชั่วโมง 16 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง ภายหลังการใส่เครื่องช่วยหายใจ พบว่าผู้ป่วย 5 ราย 7 ราย 9 ราย และ 10 รายในกลุ่ม A และผู้ป่วย 8 ราย 9 ราย 10 ราย และ 10 ราย ในกลุ่ม B หายใจสัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจได้ดีภายหลังการใส่เครื่องช่วยหายใจ เมื่อเวลา 30 นาที 8 ชั่วโมง 16 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ระยะเวลาเฉลี่ยของการใส่ท่อช่วยหายใจในกลุ่ม A เท่ากับ 7.71±4.38 วัน ซึ่งยาวกว่าในกลุ่ม 8 ที่มีระยะเวลาเฉลี่ย 5.69±1.86 วัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.27) ผลการศึกษาพบว่าในระยะแรกของ RDS การตั้งเครื่องช่วยหายใจในอัตราที่เร็วช่วยลดความทุกข์ทรมานต่อผู้ป่วย แต่ประสิทธิภาพการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้ผลเท่าเทียมกัน
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2553, January-March ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 15-21
คำสำคัญ
Preterm, Conventional ventilator rate, Fast ventilator rate, Respiratory distress syndrome