การศึกษาเพื่อดูประสิทธิภาพของยาละลายลิ่มเลือดโครพิโดเกรลแต่ละบริษัทในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
จิตรดา อึ้งประเสริฐ, เนาวคุณ อริยพิมพ์, ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร*Division of Cardiology, Department of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand; E-mail:chawon@kku.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลังและที่มา: ยาโครพิโดเกรลเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่ใช้กันมากในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เนื่องจากราคายาแพงมาก จึงมีการนำยาที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งมีราคาถูกกว่ามาใช้แทนยาโครพิโดเกรลต้นแบบ แต่ยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาโครพิโดเกรลของแต่ละบริษัทเมื่อเทียบกับยาโครพิโดเกรลต้นแบบวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดของยาโครพิโดเกรลแต่ละบริษัทกับยาต้นแบบรูปแบบการศึกษา: Before and after design study with random allocation to generic drugsวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีข้อบ่งชี้ของการได้รับยาโครพิโดเกรลและได้รับยาโครพิโดเกรลต้นแบบมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ที่มารับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่มเลือกเพื่อรับยาโครพิโดเกรลของแต่ละบริษัท (Generic A= Apolets, Generic B= Clopidogrel GPO) และได้รับการเจาะตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของเกร็ดเลือด ก่อนและหลังของการได้รับยาโครพิโดเกรลแต่ละบริษัท โดยใช้วิธีการตรวจ Whole Blood Aggregometry (ChronoLog 560) ซึ่งใช้สาร Adenosine Diphosphate (ADP) ที่ความเข้มข้น 5 และ 20 µmol/L และแปลผลเป็น ค่าความต้านทานต่อการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด(Platelet impedance; ohms)ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 74 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย, อายุเฉลี่ย 62 ปี ส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผลการตรวจเพื่อดูการทำงานของเกร็ดเลือดพบว่าค่าเฉลี่ยความต้านทานต่อการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดที่สาร ADP ความเข้ม 5 µmol/L ในกลุ่มยาโครพิโดเกรลต้นแบบ = 4.74 ohms, Generic A= 3.14 ohms และ Generic B= 4.97 ohms สำหรับความเข้มข้นที่ 20 µmol/L ADP กลุ่มยาต้นแบบ= 6.78 ohms, Generic A= 5.97 ohms และ Generic B= 7.47 ohms เมื่อเปรียบเทียบระหว่างยาต้นแบบและยา Generic A พบว่าค่าเฉลี่ยความต้านทานต่อการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดไม่เตกต่างกันทั้งที่ความเข้มข้น 5 และ 20 µmol/L ADP (P = 0.20 และ P = 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างยาต้นแบบและยา Generic B ก็ไม่พบความแตกต่างเช่นกัน (P = 0.248 at 5 µmol/L ADP, P = 0.65 at 20 µmol/L ADP) นอกจากนี้เมื่อนำยา Generic A และ Generic B มาเปรียบเทียบกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.10 at 5 µmol/L ADP, P = 0.32 at 20 µmol/L ADP) สรุป: ค่าเฉลี่ยของความต้านทานต่อการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดระหว่างยาโครพิโดเกรลต้นแบบและยาโครพิโดเกรลของแต่ละบริษัท ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นยาโครพิโดเกรลของแต่ละบริษัทสามารถนำมาใช้แทนยาโครพิโดเกรลต้นแบบได้เพื่อลดปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาลในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2554, April
ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 54-61
คำสำคัญ
Clopidogrel, Platelet function test