ผลของยาแองจิโอเทนซินทูรีเซบเตอร์บลอคเกอร์ (แคนดีซาแทน) ในการป้องกันการเกิดพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจจากยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน
จันทราภา ศรีสวัสดิ์, ชาญณรงค์ นาคสวัสดิ์, ธรณิศ จันทรารัตน์, ปราชญเ์อก ตัณฑ์เ์สนีย์, ปรีชา เอื้อโรจนอังกูร*, พลตรี ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์, พลตรี ปชุม ทาสุคนธ์, พลตรี ประสาท เหล่าถาวร, พันตรีหญิง วีรพร ปิ่นพานิชการ, พันเอกโสภณ สงวนวงษ์, พันโท นครินทร์ ศันสนยุทธ, พันโทหญิง วราภรณ์ ติยานนท์, สมคิด ปุรินทราภิบาล, หัสยา ประสิทธิ์ดำรงDivision of Cardiology, Department of Internal Medicine, Phramongkutklao Hospital, Bangkok, Thailand; E-mail address:hotpree@hotmail.com
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจจากยากลุ่มแอนทราไซคลิน ประกอบด้วย ระยะเฉียบพลัน ระยะกึ่งเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ซึ่งทั้งสามระยะสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด อัตราการตายและทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษของกล้ามเนื้อหัวใจจากยากลุ่ม แอนทราไซคลิน โดยมีการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พยายามทำการศึกษาเพื่อหาวิธีการหรือยาที่สามารถป้องกันภาวะนี้ แต่ยังไม่มีวิธีการใดได้ผลดีเท่าที่ควรจุดประสงค์: เพื่อประเมินผลของยา แองจิโอเทนซิน ทู รีเซบเตอร์ บลอคเกอร์ (แคนดีซาแทน) ในการป้องกันภาวะพิษจากยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเพื่อประเมินผลข้างเคียงของยาแคนดีซาแทน ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาดอกโซรูบิซินวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าช่วงเวลา ตั้งแต่ 1 มีนาคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 และจะไม่ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หรือภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง และภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ผู้ทำการศึกษาจะแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่มโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ได้รับยาดอกโซรูบิซินอย่างเดียว กลุ่มที่สองได้รับยาแคนดีซาแทนและยาดอกโซรูบิซิร่วมกัน ผู้ป่วยทุกคนได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูงก่อนได้รับยา หลังได้รับยาครึ่งหนึ่ง และหลังได้รับยาครบตามสูตรการรักษามะเร็งนั้นๆผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดจำนวน 21ราย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม ความดันโลหิต ชีพจร ระดับโพแทสเซียมและ ครีเอตินีนที่จุดเริ่มต้นการศึกษา ไม่ต่างกันทั้งสองกลุ่ม เมื่อติดตามไปจนจบการศึกษา พบว่าค่าความดันโลหิตและชีพจรของทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีการเพิ่มขึ้นของระดับโพแทสเซียมและครีเอตินีน ในกระแสเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับยาแคนดีซาแทน ( p= 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามไม่ได้ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือ ภาวะไตวายเฉียบพลันแต่อย่างใด ตัววัดจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อจบการศึกษาพบว่าแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาแคนดีซาแทนร่วมด้วย (69.00 ± 8.82% และ 62.60 ± 7.75%, p=0.03)สรุปผลการศึกษา: ยาแองจิโอเทนซิน ทู รีเซบเตอร์บลอคเกอร์ (แคนดีซาแทน) อาจมีผลในการช่วยป้องกันภาวะพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจจากยากลุ่มแอนทราไซคลิน ในขณะเดียวกันยาแคนดีซาแทนทำให้ระดับโพแทสเซียมและระดับครีเอตินีน ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น แต่ไม่ทำให้เกิดภาวะไตวาย
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2554, January
ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 26-35
คำสำคัญ
Prevention, Angiotensin II receptor blocker (candesartan), Anthracycline, Cardiotoxicity, ภาวะพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ, แองจิโอเทนซิน ทู รีเซบเตอร์ บลอคเกอร์, แอนทราไซคลิน