ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงต่อระดับความดันโลหิตที่บ้านในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม
สมเกียรติ แสงวัฒนา*, วรฤทธิ์ เลิศสุวรรณเสรีDivision of Cardiology, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand; E-mail: somkiat.s@chula.ac.th; Tel:066-02-2564184, 066-02-2564291; Fax: 066-02-2564184
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงต่อการควบคุมความดันโลหิตที่บ้านในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น, การควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย, ฝึกปฏิบัติเดินจงกรมและชี่กง โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม ศึกษา และกลุ่ม ควบคุม เก็บข้อ มูลระดับความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติด้วยตนเองเป็นเวลา 1 สัปดาห์, ชั่งน้ำหนัก, รอบเอว, รอบสะโพก, ระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกรีเซอไรด์, เอชดีแอลในเลือด ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม 3 เดือนผลการศึกษา: มีผู้ป่วยกลุ่มศึกษาจำนวน 31 คน และผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจำนวน 33 คน ข้อมูลพื้นฐานใน 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันความดันโลหิตก่อนเข้าร่วมโปรแกรม 141.27 ±13.91/83.40 ± 9.33 หลังเข้าร่วมโปรแกรม 137.46 ± 15.55/82.49 ± 10.45 มิลลิเมตรปรอท ในกลุ่มศึกษา, ความดันโลหิตก่อนเข้าร่วมโปรแกรม 134.83 ± 10.32/81.63 ± 10.12 หลังเข้าร่วมโปรแกรม 136.31 ± 10.94/82.26 ± 9.74 มิลลิเมตรปรอท ในกลุ่มควบคุม ความดันโลหิต systolic ลดลง 3.81 ± 7.45 มิลลิเมตรปรอท ในกลุ่มศึกษาแต่ ความดันโลหิต systolic เพิ่มขึ้น 1.48 ± 6.77 มิลลิเมตรปรอทในกลุ่มควบคุม (p= 0.011). ส่วนความดันโลหิต diastolic, น้ำหนัก, รอบเอว, รอบสะโพก, ระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกรีเซอไรด์, เอชดีแอลในเลือด เปลี่ยนแปลงไม่ต่างกันในทั้ง 2 กลุ่ม
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2554, January
ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 19-25
คำสำคัญ
hypertension, Home blood pressure, Hypertensive educational program