การป้องกันกล้ามเนื้อกระตุกโดยใช้ยา Midazolam ในขนาดต่ำนำสลบร่วมกับยา Etomidate
ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, นลินี โกวิทวนาวงษ์, พรรนิภา ผาคำ, วิรัตน์ วศินวงศ์*
Department of Anesthesia, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, Thailand; E-mail address: wwasinwong@hotmail.com
บทคัดย่อ
ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกเป็นอาการข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ยา etomidate นำสลบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ยา midazolam ต่ออุบัติการณ์และระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อกระตุกจากยา etomidate วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วย American Society of Anesthesiologits ระดับ 1-2 จำนวน 112 ราย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มให้ได้รับยา midazolam 0.03 มก./กก. นำสลบร่วมกับ etomidate 0.3 และ 0.15 มก./กก. เปรียบเทียบกับการนำสลบด้วยยาหลอก ร่วมกับ etomidate 0.3 และ 0.15 มก./กก. หลังจากนั้นบันทึกอาการ กล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดขึ้น (ระดับคะแนน 0-3) ระยะเวลาการนำสลบ และสัญญาณชีพ ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อกระตุกในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในกลุ่ม midazolam 0.03 มก./กก. นำสลบร่วมกับ etomidate 0.15 มก./กก. เกิดกล้ามเนื้อ กระตุก ส่วนร้อยละ 78, 89 และ 77 ในกลุ่ม midazolam 0.03 มก./กก. นำสลบร่วมกับ etomidate 0.3 มก./ กก., กลุ่ม etomidate 0.3 และ 0.15 มก./กก. มีอาการตามลำดับ ระยะเวลาการนำสลบในกลุ่มที่ใช้ยา midazoam ร่วมกับ etomidate ขนาดต่ำไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆสรุป: อุบัติการณ์การเกิดกล้ามเนื้อกระตุกจากการใช้ midazolam นำสลบร่วมกับ etomidate 0.15 มก./กก. ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2554, January-February ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 1-9
คำสำคัญ
induction, Midazolam, Etomidate, Myoclonic movement, กล้ามเนื้อกระตุก, นำสลบ, มิดาโซแลม, อิโตมิเดต