คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังด้วยแบบสอบถามเอสเอฟ-36
Tongprasert S, ศิลดา วงศ์ษา*, อภิชนา โฆวินทะDepartment of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai 50200, Thailand; E-mail address: siladaw@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการบาดเจ็บไขสันหลัง และความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ดูแลคนพิการอัมพาต/อ่อนแรงแขนขาทั้งสองข้างและผู้ดูแลคนพิการอัมพาต/อ่อนแรงครึ่งล่างรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบตัดขวางและเปรียบเทียบสถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มประชากร: ผู้ดูแลผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังนานมากกว่า 1 ปีวิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลทั่วไป และใช้แบบสอบถามเอสเอฟ-36 เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 50 คน อายุเฉลี่ย 43.38 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.19) ร้อยละ 72 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 34 เป็นสามีหรือภรรยา และร้อยละ 46 เป็นผู้ดูแลผู้พิการอัมพาตครึ่งล่าง ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีดังนี้ ด้านร่างกายเท่ากับ 55.06 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 21.53) ด้านจิตใจเท่ากับ 63.23 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19.43) โดยมิติการทำงานทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 74.7 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 18.64) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต/อ่อนแรงครึ่งล่างกับอัมพาต/อ่อนแรงทั้งตัวพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2 มิติ คือมิติการมีชีวิต (p=0.020) และมิติสุขภาพจิตทั่วไป (p=0.024)สรุป: ผู้ดูแลผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังมีคะแนนเฉลี่ยเอสเอฟ-36 มากกว่า 50 บ่งชี้คุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีมิติการทำงานทางสังคมดีกว่ามิติอื่น ทั้งนี้ผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต/อ่อนแรงครึ่งล่างมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต/อ่อนแรงทั้งตัว
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2554, January
ปีที่: 21 ฉบับที่ 1 หน้า 28-33
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, บาดเจ็บไขสันหลัง, Spinal cord injury, Primary caregiver, ผู้ดูแลผู้พิการ