ผลการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหลังการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทในกลุ่มผู้ป่วยข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บ: การวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
รุ่งทิพย์ โชคไพรสินRehabilitation Medicine Division, Lerdsin General Hospital, Silom road, Bangrak, Bangkok, 10500. E–mail address: rchokpraisin@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหลังการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทในกลุ่มผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บทั้งหมดและบาดเจ็บบางส่วนที่ระดับรากประสาทรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงการทดลองสถานที่ทำการวิจัย: กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเลิดสินกลุ่มที่ทำการวิจัย: กลุ่มผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บที่ระดับรากประสาท จำนวน 32 ราย ชนิดบาดเจ็บทั้งหมดและบาดเจ็บบางส่วน อย่างละ 16 ราย ซึ่งได้ทำการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทจากเส้นประสาทฟรีนิค (phrenic) โดยซูรอลกราฟท์ (sural nerve graft) หรือ อัลนาร์ (ulnar) ไปยังเส้นประสาทมัสคูโลคิวเทเนียส (musculocutaneous) ซึ่งเลี้ยงกล้ามเนื้องอข้อศอก (biceps brachii)วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มแบบ block randomization สอนการขยับข้อแขนและการออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อให้ทุกราย กลุ่มทดลองได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า 2 ครั้ง/วัน ห่างกัน 6 ชั่วโมง นานครั้งละ 15 นาที เป็นเวลา 90 วันด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ารุ่นเลิดสิน 2 โดยให้ยืมเครื่องไปทำที่บ้านและมีตารางตรวจสอบติดตามทางโทรศัพท์ทุกวัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า รวบรวมข้อมูลการฟื้นตัวของกล้ามเนื้องอข้อศอก โดยเครื่อง EMG biofeedback, เส้นรอบวงต้นแขน และลักษณะคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อที่บ่งชี้ การขาดเส้นประสาทเลี้ยง (denervation signs) ที่ระยะเวลา 2.5 และ 9 เดือนผลการศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ที่ช่วงเวลา 2.5 และ 9 เดือนหลังการผ่าตัดพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างก็มีค่าศักย์ไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 31.75 ไมโครโวล์ท (p =0.002) เส้นรอบวงต้นแขนมีขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้นโดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในกลุ่มควบคุมคือขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้น 0.34 ซม. (p = 0.016) ส่วนกลุ่มทดลองนั้น มีขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้น 0.09 ซม. (p = 0.509) เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่เวลา 9 เดือน ค่าศักย์ไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากันคือ 31.75 ไมโครโวล์ท ส่วนเส้นรอบวงต้นแขนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองใหญ่ขึ้นเท่ากับ 0.09 ซม.ส่วนกลุ่มควบคุมใหญ่ขึ้นเท่ากับ 0.34 ซม. ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p-value = 0.19) และพบว่าลักษณะคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อที่บ่งชี้การขาดเส้นประสาทเลี้ยงนั้นลดลงจากระดับ 4 (มากที่สุด) ที่เวลา 2.5 เดือน เหลืออยู่ระดับ 3 (มาก) ที่เวลา 9 เดือน ทุกรายทั้งสองกลุ่มสรุป: การกระตุ้นไฟฟ้าหลังการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทในกลุ่มผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บทั้งหมดและบาดเจ็บบางส่วนที่ระดับรากประสาท ให้ผลไม่ต่างจากการบำบัดด้วยการทำกายบริหารอย่างเดียว
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2554, January
ปีที่: 21 ฉบับที่ 1 หน้า 7-12
คำสำคัญ
Brachial plexus injury, Electrical stimulation, Muscle recovery, Nnerve transfer, การกระตุ้นไฟฟ้า, การผ่าตัดย้ายเส้นประสาท, การฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ, ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บ