ผลการให้ความรู้ทางวีดีทัศน์ร่วมกับการอธิบายต่อภาวะวิตกกังวลของหญิงที่รอผ่าตัดคลอดบุตร, การทดลองโดยวิธีสุ่ม
คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล*, จิตราภรณ์ ความคนึง, อติคุณ ธนกิจ, เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10300
บทคัดย่อ
บทนำ: มารดาที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดนั้นมักจะมีความวิตกกังวลสูง ซึ่งการให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิสัญญีโดยวิสัญญีแพทย์นั้นสามารถลดความวิตกกังวลได้ รวมทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการให้ยาเพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ผ่านทางรกได้ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวลในมารดาที่เข้ารบการผ่าตัดคลอดโดยการเพิ่มการให้ข้อมูลด้วยวีดีทัศน์ผ่านทางกลุ่ม Video (V) เปรียบเทียบกับการให้ข้อมูลด้วยวิธีการอธิบายอย่างเดียวผ่านทางกลุ่ม Control (C) ระเบียบวิธีวิจัย: มารดาที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วนทั้งสิ้น 93 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎาคม 2553 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เข้าร่วมงานวิจัย โดยทำการแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Video (V) ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้รับการอธิบายด้วยคำพูดร่วมกับการชมวีดีทัศน์เพื่อให้ข้อมูลทางวิสัญญีก่อนการผ่าตัด กับกลุ่ม Control (C) เป็นกลุ่มที่มารดาจะได้รับแค่การอธิบายข้อมูลด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว The APAIS (Amsterdam Preoperative Anxiety and Information Scale) ถูกนำมาใช้ในการประเมินความวิตกกังวลของทั้งสองกลุ่มโดยนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันระหว่างความวิตกกังวลก่อนการให้ข้อมูลในวันก่อนการผ่าตัด เปรียบเทียบกับหลังให้ข้อมูลในขณะที่อยู่หน้าห้องผ่าตัด ผลการวิจัย: คะแนนความวิตกกังวลในกลุ่ม V ขณะที่อยู่ห้องผ่าตัดนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (2.3 ± 3.6) เมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนการผ่าตัด ในขณะที่ในกลุ่ม C นั้น มีค่าที่เพิ่มขึ้น (1.3 ± 3.0) โดยเมื่อนำทั้งสองกลุ่มนั้นมาเปรียบเทียบกันแล้วนั้นพบว่ากลุ่ม V นั้นมีคะแนนความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม C (P < 0.05) อย่างไรก็ตามอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ความวิตกกังวลของมารดานั้นไม่สัมพันธ์กับอายุ ระดับการศึกษา สถานสมรส และประวัติการผ่าตัด สรุป: การให้ความรู้ทางวีดีทัศน์ร่วมกับการอธิบายนั้นสามารถลดความวิตกในมารดาที่รอการผ่าตัดคลอดบุตรแบบไม่เร่งด่วน
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2554, April-June ปีที่: 37 ฉบับที่ 2 หน้า 71-80
คำสำคัญ
Cesarean section, Information, Amsterdam Preoperative Anxiety and Information Scale, Audiovisual