การศึกษาเปรียบเทียบการป้องกันภาวะไตวายจากสารทึบรังสีหลังการสวนหัวใจด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตและสารน้ำระยะสั้นก่อนการสวนหัวใจ
พรทิพย์ นิ่มขุนทด*, อนวัช เสริมสวรรค์, ไพบูลย์ โชตินพรัตนภัทรCardiovascular Medicine, BMA Medical College and Vajira Hospital, Bangkok; E mail address: m_stent@hotmail.com
บทคัดย่อ
ที่มา: การใช้สารน้ำ มีประสิทธิภาพป้องกันภาวะไตวายจากสารทึบรังสี แม้ขนาดและระยะเวลามีความแตกต่างกัน โซเดียมไบคาร์บอเนต พบว่าสามารถป้องกันภาวะไตวายจากสารทึบรังสี แม้ว่าการศึกษาล่าสุดพบว่ามีผลไม่ความแตกต่างกันกับกลุ่มใช้สารน้ำวัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการป้องกันภาวะไตวายจากสารทึบรังสี หลังการสวนหัวใจ ด้วยการใช้ โซเดียมไบคาร์บอเนตและสารน้ำระยะสั้นก่อนการสวนหัวใจวิธีการดำเนินการวิจัย: คัดเลือกผู้ป่วยโรคหัวใจที่ทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจแบบไม่เร่งด่วนที่ศูนย์โรคหัวใจ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล 86 คน เกณฑ์การคัดออก คือ ไตวายเรื้อรัง การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจไม่ดี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ได้รับสารน้ำ 40 คนและกลุ่มศึกษา โซเดียมไบคาร์บอเนต 46 คน อัตราเร็วในการให้สารน้ำเท่ากัน 3 มล./กก. 1 ชั่วโมงก่อน และ1 มล./กก. 6 ชั่วโมง หลังทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ วัตถุประสงค์หลัก คือ การเกิดภาวะไตวายจากสารทึบรังสี (ค่าภาวะที่มีค่าการขจัดของเสียของไตลดลง ≥ 25% หรือมีการเพิ่มขึ้นของผลเลือดการทำงานของไต ≥ 0.5 มล./ดล. ใน 48 ชั่วโมง) และ วัตถุประสงค์รอง คือ การเปลี่ยนแปลงของค่าภาวะที่มีค่าการขจัดของเสียของไต ผลเลือดการทำงานของไต ค่าความเป็นกรด ด่าง ของปัสสาวะวันที่ 1 และ 2 หลังทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ ผลข้างเคียง น้ำท่วมปอดไตวายเฉียบพลันที่ต้องล้างไต เสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลผลการศึกษา: อายุเฉลี่ย 63.3 ปี 47.7 % เป็นเบาหวาน ส่วนใหญ่อัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายจากสารทึบรังสี ≤ 5 ในกลุ่มสารน้ำ 72.5%และโซเดียมไบคาร์บอเนต 69.6% การเกิดภาวะไตวายจากสารทึบรังสีในกลุ่มสารน้ำ 7.5% และโซเดียมไบคาร์บอเนต 4.3% ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.53) การเปลี่ยนแปลงลดลงของค่าเฉลี่ยภาวะที่มีค่าการขจัดของเสียของไตในกลุ่มสารน้ำ 1.57 มล./นาที/1.73 ตรม. และเพิ่มขึ้นลดของค่าเฉลี่ยภาวะที่มีค่าการขจัดของเสียของไตในกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต 1.73 มล./นาที/1.73 ตรม. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.024 ) เมื่อติดตาม 24 ชั่วโมงหลังทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ แต่ไม่พบความแตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงของค่าการขจัดของเสียของไตและผลเลือดการทำงานของไตเมื่อติดตาม 48 ชั่วโมง ค่าความเป็น กรด ด่าง ของปัสสาวะเพิ่มขึ้นใน24 ชั่วโมงของกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนตเมื่อเทียบกับกลุ่มสารน้ำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.16) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของค่าความเป็นกรด ด่าง ของปัสสาวะเพิ่มขึ้นของทั้ง 2 กลุ่มเมื่อติดตาม 48 ชั่วโมง (p = 0.92) การศึกษาไม่พบว่า มีการเกิดน้ำท่วมปอด ไตวายเฉียบพลันที่ต้องล้างไต หรือเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลสรุปผลการวิจัย: การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต ไม่เหนือกว่าการใช้สารน้ำระยะสั้นก่อนการสวนหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะไตวายจากสารทึบรังสี
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2553, April
ปีที่: 23 ฉบับที่ 2 หน้า 56-64
คำสำคัญ
Contrast induced nephropathy, Coronary angiography, Isotonic saline, Sodium bicarbonate