การศึกษาเปรียบเทียบผลของยาชา levobupivacaine และ racemic bupivacaine ในการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง สำหรับการผ่าตัดตั้งแต่ช่องท้องส่วนล่างลงมาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
กชกร พลาชีวะ, คัทลียา ทองรอง, มณีรัตน์ ธนานันต์, รัดดา กำหอม, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี*Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. Phone: 081-954-7622; E-mail: thepakorns@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: Levobupivacaine เป็น isolated S-enantiomer ของ racemic bupivacaine ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกันแต่มีผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดและระบบประสาทที่รุนแรงน้อยกว่า ซึ่งนิยมใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มสูติกรรม เช่น epidural block และการทำ brachial plexus block และ infiltration analgesia แต่สำหรับการทำ spinal block ยังไม่มีแพร่หลายวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการเริ่มออกฤทธิ์ motor block และประสิทธิภาพอย่างอื่นของยา 0.5% isobaric racemic bupivacaine 15 มก. กับ 0.5% isobaric levobupivacaine 15 มก. สำหรับการผ่าตัดตั้งแต่ช่องท้องส่วนล่างลงมารูปแบบงานวิจัย: Prospective randomized double blind studyวิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วย 70 ราย อายุ 18-65 ปี ที่มารับการผ่าตัดตั้งแต่ช่องท้องส่วนล่างลงมา ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์โดยมี ASA status I-II ไม่มีประวัติแพ้ amide local anesthetics ไม่มีข้อห้ามในการระงับความรู้สึกโดยฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง และไม่มีภาวะ morbid obesity แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มโดย computer และปิดผนึกซอง กลุ่มที่ 1 จำนวน 35 รายได้รับ 0.5% isobaric racemic bupivacaine 3 มล. กลุ่มที่ 2 จำนวน 35 ราย ได้รับ 0.5% isobaric levobupivacaine 3 มล. ซึ่งเตรียมโดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ฉีดยา จัดท่านอนตะแคงซ้าย เลือกระดับ L3-4 ใช้ spinal needle No. 25 ทั้ง 2 กลุ่มผลการศึกษา: ผู้ป่วย 2 กลุ่มที่ทำการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) ทั้ง motor และ sensory ในด้านของ onset time และ duration โดยมีค่ามัธยฐานของระดับการชาสูงสุดในกลุ่ม isobaric racemic bupivacaine และ levobupivacaine อยู่ที่ระดับ T9 (T6-T12) และ T9 (T4-T12) ตามลำดับ ส่วนผลข้างเคียง จาก spinal block ทั้ง 2 กลุ่มพบเพียงเล็กน้อย ซึ่งทุกคนได้รับการรักษาและไม่มีอันตรายร้ายแรงสรุป: การศึกษานี้แสดงให้ทราบว่า isobaric racemic bupivacaine และ isobaric levobupivacaine ขนาด 15 มก. สำหรับการฉีดยาเข้าทางช่องน้ำไขสันหลัง มีประสิทธิภาพในการระงับความรู้สึกที่ไม่แตกต่างกันทั้งระดับการชาสูงสุด onset time และ duration ของ motor และ sensory block รวมทั้งผลข้างเคียง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, June
ปีที่: 94 ฉบับที่ 6 หน้า 716-720
คำสำคัญ
Intrathecal, Spinal anesthesia, Levobupivacaine, Isobaric, Motor block, Racemic bupivacaine