การรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-elevation โดยการใช้ bone marrow mononuclear cell ฉีดเข้าในหลอดเลือดหัวใจ: การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม
เอมอร แสงศิริ, ธานินทร์ อินทรกำธรชัย, ถนอม บรรณประเสริฐ, ถาวร สุทธิไชยากุล, ธัญญพงษ์ ณ นคร, ภาวิณี คุปตวินธุ, มนรวีร์ ทุมโฆษิต, มัณนา โพธ์ิศรี, ยี่สุ่น สุขเสรี, สมนพร บุญยะรัตเวช, สมใจ วังศุภชาติ, สุนิสา โพธ์ิงาม, สุพจน์ ศรีมหาโชตะ*, อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์, ไพโรจน์ ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
Division of Cardiology, Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4291, Fax: 0-2252-4291; E-mail: s_srimahachota@yahoo.co.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การใช้เซลล์ต้นกำเนิดเป็นความหวังในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST elevation ที่มีการทำงานของหัวใจลดลง อย่างไรก็ตามผลการรักษายังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหัวใจที่ 6 เดือนภายหลังการให้การรักษาด้วย bone marrow mononuclear cell (BMC) ฉีดเข้าในหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-elevation เปรียบทียบกับกลุ่มควบคุมวัสดุและวิธีการ: หลังจากที่ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST elevation และมีการทำงานของหัวใจน้อยกว่า 50% โดยสุ่มผู้ป่วยเข้าในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย bone marrow mononuclear cell (BMC) ฉีดเข้าในหลอดเลือดหัวใจหรือกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะไขกระดูกจำนวน 100 มล. ในตอนเช้า และส่งไปทำการแยก mononuclear cell โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งจะได้ของเหลวที่มีเซลล์ปริมาตร 10 มล. เพื่อที่จะฉีดเข้าหลอดเลือดหัวใจโดยใช้วิธีการปกติของการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด ขณะที่ฉีดเซลล์เข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจบอลลูนจะถูกขยายออกเป็นเวลา 3 นาที การทำงานของหัวใจ ปริมาณของกล้ามเนื้อที่ตายจะตรวจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็ก โดยเปรียบเทียบก่อนทำและที่ 6 เดือนหลังจากทำการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมผลการศึกษา: จากเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ถึง กรกฏาคม พ.ศ. 2551 ผู้ป่วย 23 ราย (11 รายในกลุ่ม BMC และ 12 รายในกลุ่มควบคุม) ได้เข้าสู่การศึกษา ค่าเฉลี่ยจำนวน BMC เท่ากับ 420 x 106 เซลล์ โดยที่ 96% เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต ภายหลังติดตามการรักษาที่ 6 เดือน พบว่า function class ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม (2.3 ± 0.6 to 1.2 ±0.4 สำหรับกลุ่ม BMC and 2.3 ± 0.7 to 1.3 ±0.5 สำหรับกลุ่มควบคุม) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของ LVEF เมื่อติดตามไป 6 เดือนของทั้งสองกลุ่ม (33.7 ±7.7 to 33.5 ± 7.6 สำหรับกลุ่ม BMC and 31.1 ± 7.1 to 32.6 ± 8.3 สำหรับกลุ่มควบคุม) เช่นเดียวกับ scar volume และ wall motion score index ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างที่ทำหัตถการสรุป: การใช้ BMC ในการฉีดเข้าหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-elevationสามารถทำได้และมีความปลอดภัย แต่ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของ LVEF
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, June ปีที่: 94 ฉบับที่ 6 หน้า 657-663
คำสำคัญ
Bone marrow mononuclear cell transplantation, Intracoronary, ST elevation myocardial infarction